การสื่อสารสังคมออนไลน์และความโน้มเอียงทางการเมือง ที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของประชาสังคม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

Main Article Content

ดาบตำรวจ รนายุทธ ชาสุรีย์
ดร.ธรรมนิตย์ วราภรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยการสื่อสารสังคมออนไลน์และความโน้มเอียงทางการเมืองที่ส่งผล
ต่อความเข้มแข็งของประชาสังคมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการสื่อสารสังคมออนไลน์
และความโน้มเอียงทางการเมืองที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของประชาสังคมในภาคตะวันออก
เฉียงเหนือของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จำนวน 596 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มหลายขั้นตอน
(Multistage Random Sampling) เครื่องมอื ที่ใชใ้ นการวจิ ยั เปน็ แบบสอบถามชนดิ ประมาณคา่
5 ระดับมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่าง
การสื่อสารสังคมออนไลน์และความโน้มเอียงทางการเมืองที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของ
ประชาสังคมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูล
เชิงประจักษ์ ( X
_
= 43.59 df = 32 , P-Value = 0.083, RMSEA = 0.025, GFI = .99, AGFI =
.97, CFI = 1.00, NFI = .99, NNFI = 1.00 และ CN = 487.86) โดยได้ข้อค้นพบเกี่ยวกับ
ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยในรูปแบบดังนี้ การสื่อสารสังคมออนไลน์ส่งผลทางตรง
ต่อความโน้มเอียงทางการเมืองและส่งผลทางตรงต่อความเข้มแข็งของประชาสังคม
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในส่วนความโน้มเอียงทางการเมืองนั้นก็ส่งผลทางตรง
ต่อความเข้มแข็งของประชาสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จึงทำให้การสื่อสาร
สังคมออนไลน์ส่งผลทางตรงและทางอ้อมต่อความเข้มแข็งของภาคประชาสังคมโดยผ่าน
ความโน้มเอียงทางการเมืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิชาการ