การศึกษาเชิงวิเคราะห์พระธาตุเจดีย์ในประเทศไทย

Main Article Content

พระสังเวียน ธีรปญฺโญ
พระครูสุธีคัมภีรญาณ -
จิรภัทร แก้วกู่
ประยูร แสงใส

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตำนานพระธาตุเจดีย์สถาปัตยกรรมของพระธาตุ
เจดีย์สัญญะที่ปรากฏในพระธาตุเจดีย์ในประเทศไทยโดยใช้ทฤษฏีโครงสร้างนิทานของวลาดี
มีร์พรอปป์ และสัญลักษณ์แห่งพระถูปของ เอเดรียนสนอตกราส ศึกษาจากตัวแทนกลุ่ม
พระธาตุเจดีย์จาก 4 ภาค มีพระธาตุเจดีย์ทั้งหมด 8 องค์ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการ
ประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและอธิบายแบบเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า โครงเรื่องตำนาน
พระธาตุเจดีย์ในประเทศไทยมี 2 แบบคือ 1) แบบมีการกล่าวถึงการเสด็จมาของพระพุทธเจ้า
2) แบบไม่มีการกล่าวถึงการเสด็จมาของพระพุทธเจ้า และ สอดคล้องกับทฤษฏีโครงสร้างนิทาน
ของ วลาดีมีร์ พรอปป์ (Vladimir Propp) อยู่ 4 ฉบับ ไม่สอดคล้องกับทฤษฏีโครงสร้างนิทาน
ของ วลาดีมีร์ พรอปป์ (Vladimir Propp) อยู่ 4 ฉบับ ในทางสถาปัตยกรรม พบว่า สถาปัตยกรรม
พระธาตุเจดีย์ที่สร้างขึ้นในประเทศไทย ในส่วนฐานมี 3 แบบ ได้แก่ (1) แบบฐานกลม
(2) แบบฐานสี่เหลี่ยม (3) แบบฐานแปดเหลี่ยม ในส่วนเรือนพระธาตุมี 4 ลักษณะ ได้แก่
(1) ทรงระฆังกลมหรือโอความแบบลังกา (2) ทรงระฆังแปดเหลี่ยม (3) ทรงบัวเหลี่ยม
(4) ทรงปราสาท จัตุรมุข ในส่วนยอดพระธาตุเจดีย์จำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มยอด
พระธาตุเจดีย์ทรงระฆังกลมแบบลังกาและยอดพระธาตุเจดีย์แบบบัวเหลี่ยม (2) กลุ่มยอด
พระธาตุเจดีย์แบบล้านนาและแบบศรีวิชัย ในส่วนสัญญะ พบว่า ตัวฐานกลมพระธาตุเจดีย์
สื่อความหมายถึงศูนย์กลางในการประกาศพระพุทธศาสนา, ฐานพระธาตุเจดีย์สี่เหลี่ยม
สื่อความหมายถึงหลักธรรมอิทธิบาท 4, ฐานพระธาตุเจดีย์แปดเหลี่ยม สื่อความหมายถึงหลักธรรมอริยมรรคมีองค์ 8, ตัวเรือนพระธาตุเจดีย์แบบลังกา สื่อถึงการเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
ของพระพุทธเจ้า, เรือนพระธาตุเจดีย์แบบบัวเหลี่ยม สื่อถึงหลักสติปัฏฐาน 4, เรือนพระธาตุ
เจดีย์แบบแปดเหลี่ยม สื่อถึง มรรค 4 ผล 4, ในส่วนยอดพระธาตุเจดีย์ แบบลังกาและ
แบบบัวเหลี่ยม สื่อถึงการอยู่เหนือภพภูมิต่าง ๆ ของพระพุทธเจ้าและพระสาวก ซึ่งถือว่าเป็น
ผู้บริสุทธิ์ และเป็นใหญ่ในโลกทั้งสาม, ยอดพระธาตุเจดีย์แบบล้านนาและแบบศรีวิชัย สื่อถึง
การอยู่เหนือภพภูมิต่าง ๆ และพระองค์เพียบพร้อมด้วยฤทธิ์ 3 ประการ พุทธคุณ 9 ประการ
พระอรหันตสาวกของพระพุทธเจ้า ประกอบด้วยอภิญญา 5 ประการ สมาบัติ 8 ประการ

Article Details

บท
บทความวิชาการ