ยุทธศาสตร์การพัฒนาการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ ของจังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านกีฬา
เพื่อความเป็นเลิศของจังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนากีฬา
เพื่อความเป็นเลิศของจังหวัด ศรีสะเกษ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ผู้ให้ข้อมูล
โดยการเลือกแบบเจาะจง ดังนี้ 1) ตัวแทนผู้บริหารในสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา
จังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดศรีสะเกษ ตัวแทนผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานการท่องเที่ยว
และกีฬาจังหวัดศรีสะเกษ ตัวแทนนักกีฬาที่ได้รับรางวัลความเป็นเลิศด้านกีฬา จังหวัดศรีสะเกษ ตัวแทนนักวิชาการ และตัวแทนชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 30 คน และเครื่องมือ
ที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้างโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้
ข้อมูลหลักผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนร่วมในการสนับสนุนกีฬาจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อดำเนินการประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของยุทธศาสตร์การพัฒนากีฬาด้านความเป็นเลิศของจังหวัด ศรีสะเกษโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 คน ข้อมูล
เชิงปริมาณค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เนื้อหา
สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้
1. ผลการศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านกีฬาเพื่อความเป็นเลิศของจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า จุดแข็ง คือ มีการบริหารจัดการที่ดีมีเอกภาพประสิทธิภาพและเป็นสากลสอดคล้องกับสหพันธ์กีฬานานาชาติ การจัดสรรงบประมาณเหมาะสมกับกีฬาแต่ละประเภท มีการศึกษานโยบายของกระทรวงการท่องเที่ยวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาพัฒนาด้านกีฬา จุดอ่อน คือ
ขาดการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแก่นักเรียนและนักศึกษาทางด้านพลศึกษา
กีฬานันทนาการ วิทยาศาสตร์การกีฬาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อให้เป็นผู้สำเร็จการศึกษา
ที่พึงประสงค์ของสังคม โอกาส คือ ได้รับการพัฒนาและส่งเสริมด้านการบริหารจัดการ
การได้รับการจัดสรรงบประมาณจากหน่วยงานรัฐบาลและเอกชน อุปสรรค คือ ผลกระทบ
ต่อความเจริญทางเทคโนโลยีที่มีต่อการบริหารจัดการทางกีฬา วัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับการกีฬา
มีราคาเปลี่ยนแปลงทำให้การวางแผนด้านงบประมาณคลาดเคลื่อน
2. ผลการศึกษายุทธศาสตร์แนวทางการพัฒนาการจัดการแข่งขันกีฬาเพื่อความเป็นเลิศของจังหวัด ศรีสะเกษ สามารถนำไปวางแผน กำหนดนโยบายพัฒนากีฬา
เพื่อความเป็นเลิศให้มีประสิทธิภาพ พบว่า มีความเหมาะสมสามารถ นำไปประยุกต์ใช้ได้
ทั้ง 12 ด้าน คือ ยุทธศาสตร์ทั้ง 12 ด้าน คือ 1) การบริหารจัดการทางกีฬา 2) งบประมาณ
3) นโยบายการกีฬา 4) การพัฒนาการกีฬาสู่ความเป็นเลิศ 5) กฎหมายข้อบังคับและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับกีฬา 6) ความสามารถตัวนักกีฬาหรือผู้เล่น 7) ผู้ฝึกสอนกีฬา 8) สถานที่อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก 9) การจัดการแข่งขัน 10) การมีส่วนร่วมและปลุกกระแสค่านิยม
ทางการกีฬา 11) การนำวิทยาศาสตร์การกีฬามาประยุกต์ใช้ 12) องค์กรที่รับผิดชอบ
ด้านการกีฬา โดยประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ