การมีส่วนร่วมในการสืบสานศิลปะการทอผ้าไหม สู่การตระหนัก และสืบทอดทางวัฒนธรรม กรณีศึกษาชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

สุจิตตรา หงส์ยนต์
พิกุล สายดวง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ด้านการทอผ้าไหม กรณีศึกษาชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี 2) ศึกษาศักยภาพของเยาวชน
ในท้องถิ่นในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทอผ้าไหม กรณีศึกษาชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี และ 3) พัฒนาศักยภาพของเยาวชนในท้องถิ่นในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ด้านการทอผ้าไหม กรณีศึกษาชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัย
เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล (Key Informants) คือ ปราชญ์ชาวบ้าน
บ้านหนองบ่อ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีและนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
ในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ภาพยนตร์สั้นภาษาอังกฤษ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview) แบบบันทึก
การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม (Participant Observation) แบบบันทึกการสังเกตอย่างไม่มีส่วนร่วม (Non Participant Observation) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus group Discussion) และแบบบันทึกเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (เวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน) โดยนำข้อมูลมาสรุปผล
เชิงบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนทอผ้าตำบลหนองบ่อ ได้เสนอแนวทางในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทอผ้าไหม โดยควรมีการส่งเสริมให้เยาวชน
รุ่นใหม่สวมใส่ผ้าไหมซึ่งถือเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาของชุมชน การสอนทอผ้าไหมให้กับเยาวชนในชุมชน จัดนิทรรศการเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอผ้าไหม ถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
การทอผ้าไหมให้กับผู้ที่สนใจ เผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอผ้าไหมผ่านสื่อต่าง ๆ สร้างและเผยแพร่ภาพยนตร์สั้นเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทอผ้าไหมทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อให้ชาวไทยและชาวต่างชาติได้รับชม นอกจากนี้ยังพบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีเป็นผู้มีศักยภาพในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทอผ้าไหม โดยเสนอว่าควรมีการเผยแพร่ความงามของผ้าไหมผ่านสื่อออนไลน์ การเป็นมัคคุเทศก์ในท้องถิ่น ร่วมแสดงภาพยนตร์สั้นภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวิถีชีวิตและภูมิปัญญาด้านการทอผ้าไหมเพื่อนำไปถ่ายทอด
ให้เยาวชนได้ตระหนักและหวงแหนภูมิปัญญาท้องถิ่น ออกแบบและเขียนบรรยายผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเป็นภาษาอังกฤษเพื่อนำเสนอเรื่องราวประวัติความเป็นมาเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์
ให้น่าสนใจ และที่สำคัญนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีได้พัฒนา
ศักยภาพของตนโดยผ่านการฝึกการใช้ทักษะกระบวนการวิจัยเป็นฐาน ได้ฝึกทักษะ
การคิดวิเคราะห์ ทำให้เป็นคนมีกระบวนการคิดที่สมเหตุสมผล รู้จักวางแผนเป็นลำดับขั้นตอน สามารถทำงานร่วมกันคนอื่นได้ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้หรือข้อมูล
ที่ได้สืบค้น มาพัฒนาชุมชนของตนอย่างเป็นรูปธรรม

Article Details

บท
บทความวิชาการ