ความหลากหลายทางวัฒนธรรมด้านภูมิปัญญาการรักษาโรคของชุมชนชาวบรู บ้านท่าล้งและบ้านเวินบึก อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

กิติราช พงษ์เฉลียว
มานิตย์ โศกค้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรมด้านภูมิปัญญาการรักษาโรคของชุมชนชาวบรูบ้าน ท่าล้งและบ้านเวินบึก อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษารวบรวมภูมิปัญญาการรักษาโรคตามวิถีวัฒนธรรมชาวบรูและศึกษาสถานภาพองค์ความรู้ภูมิปัญญาการรักษาโรคตามวิถีวัฒนธรรมชาวบรูของชุมชนชาวบรูบ้านท่าล้งและ
บ้านเวินบึก อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งพบผลการศึกษาดังต่อไปนี้
ความหลากหลายทางวัฒนธรรมด้านภูมิปัญญาการรักษาโรคของชุมชนชาวบรู
บ้านท่าล้งและบ้านเวินบึก อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีการรักษาควบคู่กัน 2 วิธี
ทั้งการรักษาโรคด้วยสมุนไพร ซึ่งหมอยามีภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมา เริ่มตั้งแต่กระบวนการแรกคือ การเก็บยาสมุนไพร จากแหล่งสมุนไพรแถวชุมชนหรือพื้นที่ใกล้เคียง การปรุงตำรับยาสมุนไพร ตำรับต่าง ๆ ซึ่งชาวบรูมีตำรับยารักษาโรคทั่วไปหรือยาบำรุงร่างกายต่าง ๆ เช่น
ยาน้ำนม ยาชุม ยาแก้พิษงู ยาแก้ไข้ ยารักษาวัวขาทก เป็นต้น ส่วนวัสดุอุปกรณ์ในการปรุงยา
ก็เป็นวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น หินฝนยา ก็ได้จากเทือกเขาผาแต้ม เป็นต้น ส่วนค่าคาย
หรือค่ารักษาก็เป็นเพียงค่าครูไม่ได้รักษาเพื่อหวังรายได้ที่มากมาย คนยากจนหมอยาก็รักษา
ให้ฟรีหรือแล้วแต่จิตศรัทธาของผู้ป่วยจะมอบให้ นอกจากจะรักษาด้วยยาสมุนไพร
แล้วหมอยายักมีคาถาประกอบการรักษา นอกจากนี้จาระโบยังมีส่วนรักษา ด้วยวิธีการรักษา
ด้วยการปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย หรือรักษาอาการเจ็บป่วยที่เชื่อว่าเกิดจากสิ่งเหนือธรรมชาติอีกด้วย
การรักษาโดยใช้สมุนไพรควบคู่กับการรักษาด้วยคาถาอาคมและการปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายเป็นวิธีการรักษาที่รักษาทั้งทางร่างกายและจิตใจทำให้ผู้ป่วยมีขวัญกำลังที่จะต่อสู้กับโรคภัยที่ตนเองกำลังเผชิญอยู่
การอนุรักษ์องค์ความรู้สมุนไพรในการรักษาโรคของชุมชนชาวบรูปรากฏเด่นชัด
ที่ชุมชุนชาวบรูบ้านท่าล้ง โดยชาวบ้าน ผู้นำชุมชน หมอยา และโรงเรียนบ้านท่าล้ง ได้มี
การตั้งชมรมเรียนรู้สมุนไพรในโรงเรียนเพียงหลวงที่ 12 (โรงเรียนบ้านท่าล้ง) โดยเยาวชนในชุมชนเป็นผู้เรียนรู้เรื่องพืชสมุนไพรตลอดจนวิธีการรักษา ซึ่งถ้ามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตำรับยา
สมุนไพรของชาวบรูชุมชนบ้านท่าล้งอาจสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชุนได้ หมอยาสมุนไพร
ที่ให้ความรู้กับเยาวชน คือ นายแพง แก้วใส่ อายุ 62 ปี ชาวบ้านท่าล้ง ซึ่งมีภูมิปัญญา
การใช้สมุนไพรในการรักษาโรค การเก็บสมุนไพร แหล่งที่อยู่สมุนไพรใช้สมุนในบริเวณ
เทือกผาแต้มที่อยู่ใกล้ชุมชน มากกว่า 30 ปี เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แก่เยาวชน ส่วนสถานภาพ
ของจาระโบและความเชื่อ พบว่า จาระโบหรือผู้นำพิธีกรรมในชุมชนชาวบรูท่าล้งและบ้านเวินบึก ยังมีการสืบทอดตำแหน่งจาระโบกันเรื่อยมา บุคคลที่ทำหน้าที่จาระโบของหมู่บ้าน คือ จาระโบ
บ้านท่าล้ง คือ พ่อใหญ่วอน ส่วนรองจาระโบ คือ พ่อใหญ่ชั่วดัน จาระโบบ้านเวินบึก คือ พ่อใหญ่กิ
พึ่งป่า ซึ่งจาระโบมีหน้าที่ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ดังนี้ คือ ผู้นำและทำพีธีเลี้ยงเจ้าปู่ ผู้นำ
และทำพิธีบูชาสักการะ หินตาหินยาย ผู้นำพิธีถือฮีตครองบรรพบุรุษ ผู้นำพิธีคือ ฮีตครองบรรพบุรุษ ช่วยปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายที่มารบกวนหรือรังควานหมู่บ้านหรือชาวบ้าน การรักษาอาการเจ็บปวดจากสิ่งเหนือธรรมชาติและศูนย์รวมจิตใจ และสร้างขวัญกำลังใจ ให้ชาวบ้านบรู

Article Details

บท
บทความวิชาการ