รูปแบบการพัฒนากิจกรรมการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา : กรณีการสร้างงานศิลปกรรมจากวัสดุธรรมชาติเหลือใช้

Main Article Content

สมรุศ หรุจันทร์
ศิริเพ็ญ อัตไพบูลย์
ศักดิ์ชาย สิกขา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนากิจกรรมการลดเวลาเรียน
เพิ่มเวลารู้ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา : กรณีการสร้างงานศิลปกรรมจากวัสดุธรรมชาติเหลือใช้ กลุ่มตัวอย่างคือ ครู ผู้ปกครอง นักเรียนและกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 จำนวน 360 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการพัฒนากิจกรรมการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา : กรณีการสร้างงานศิลปกรรมจากวัสดุธรรมชาติเหลือใช้รูปแบบกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ประกอบด้วย 8 กิจกรรม แต่ละกิจกรรมมี 8 องค์ประกอบ คือ 1) แนวคิดของกิจกรรม 2) ภาพกิจกรรม 3) ความหมายของกิจกรรม 4) เวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรม 5) วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 6) ขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรม 7) สิ่งที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรม 8) การประเมินผลกิจกรรมจากการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดและเป็นไปได้มากที่สุดและ
ความพึงพอใจของนักเรียนและครูหลังทดลองใช้รูปแบบกิจกรรมการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
หรุจันทร์ ส., อัตไพบูลย์ ศ., & สิกขา ศ. (2017). รูปแบบการพัฒนากิจกรรมการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา : กรณีการสร้างงานศิลปกรรมจากวัสดุธรรมชาติเหลือใช้. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(2), 335–351. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/129856
บท
บทความวิชาการ