ข้อสังเกตเบื้องต้นเกี่ยวกับหมิ่นประมาทและดูหมิ่นในกฎหมายอาญา

Main Article Content

นางสาวสุรัสวดี แสนสุข
นายพลสิทธิ์ จิระสันติมโน

บทคัดย่อ

โดยปกติแล้ว คำพูดของคนไม่อาจทำอันตรายใครได้โดยตรง เหมือนกับการใช้ร่างกาย
หรือ อาวุธประทุษร้าย แต่คำพูดบางคำในสถานการณ์บางอย่างก็อาจเป็นการดูถูกเหยียดหยาม ทำให้เกิดความหมางใจกันเป็นสาเหตุของการทะเลาะวิวาททำร้ายหรือฆ่ากันได้ กฎหมาย
ได้ตระหนักในข้อนี้จึงได้บัญญัติการกระทำความผิดที่เนื่องมาจากการใช้วาจาหรือคำพูดไว้
ในหลาย ๆ กรณี เช่น การข่มขู่ การยั่วโทสะ การแจ้งความเท็จ การดูหมิ่น หรือการหมิ่นประมาท เป็นต้น
ในบทความนี้ จะได้กล่าวถึงการใช้ถ้อยคำในทางที่น่าจะทำให้เกิดความเสียหาย
แก่ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ซึ่งได้แก่ ความผิดในฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่น
ตามประมวลกฎหมายอาญา
นอกจากจะอธิบายองค์ประกอบความผิดที่เป็นหลักแล้วมาตรา 393 ยังจะได้ขยายความ
รับผิดในกรณีที่มีการหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นแก่บุคคลที่มีฐานะที่แตกต่างกันออกไปด้วย
เช่น สถาบัน พระมหากษัตริย์ (มาตรา 112) เจ้าพนักงาน (มาตรา 136) ศาล (มาตรา 198) บุคคลธรรมดา และผู้ตาย (มาตรา 326, 327) ด้วย เพื่อคุ้มครองมิให้เกิดความเสียหายกระทบกระเทือน ความสงบสุข การปฏิบัติหน้าที่หรือเกียรติยศของบุคคลหรือชื่อเสียงของบุคคล
ตามประเภทและฐานะที่แตกต่างกันไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ