การวิจัยเรื่องการพัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารตามกรอบวัดมาตรฐานความสามารถทางภาษา ของสหภาพยุโรป (CEFR)

Main Article Content

นันท์นภัส อยู่ประยงค์
ปริเทพ โคตรคำ
เกษมศิริ วัฒโน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการพัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
ตามกรอบวัดมาตรฐานความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรป (CEFR) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้
1). เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ, 2.) เพื่อวัดนิสัยรักการอ่านของนักศึกษาที่ 3). เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ
ในการเรียนการสอน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือบทความวิชาการภาษาอังกฤษ จำนวน 5 เรื่อง โดยมี
การวิเคราะห์จากทักษะในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ 5 ขั้นคือ 1) ขั้นความเข้าใจ (under
standing) 2) ขั้นประยุกต์ (Applying) 3) ขั้นวิเคราะห์ (Analyzing) 4) ขั้นประเมินผล
(Evaluating) 5) ขั้นสร้างสรรค์ (Creating) โดยพิจารณาเนื้อหาที่ใช้สอนตามแนวทางของ
CEFR แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 เป็นชุดฝึกการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ส่วนที่ 2 เป็นแบบสอบถามวัดนิสัยในการรักการอ่านที่มีต่อกระบวนการเรียน การสอน การอ่าน
มีวิจารณญาณ ส่วนการวิเคราะห์แนวทางในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณได้จากการวิเคราะห์เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ซึ่งข้อมูลที่ได้นำมาเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูล
ในรูปแบบร้อยละของค่าความถี่สะสม (Cumulative Frequency Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
1. นักศึกษากลุ่มตัวอย่างได้พัฒนาทักษะความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณจากการอ่านเนื้อเรื่องที่เป็นภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 1 ของทั้ง 2 มหาวิทยาลัย พบว่าคะแนนหลังเรียนเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 0.05
2. เมื่อเปรียบเทียบนิสัยในการรักการอ่านของนักศึกษาของทั้งสองมหาวิทยาลัย
พบว่ากลุ่มตัวอย่างจากทั้งสองมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับการอ่านน้อยจึงควรมีการเพิ่มการใช้ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการเรียนการสอนรวมทั้งพัฒนานิสัยรักการอ่านของนักศึกษา
3. แนวทางการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณพบว่า สถาบัน
การศึกษาควรสนับสนุนในการสร้างกิจกรรมการอ่านที่ทำให้นักศึกษารู้สึกเพลิดเพลิน
มีหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่จัดในการเรียนการสอนและกิจกรรมที่จัดนอกเหนือจากการเรียนการสอนเช่นการจัดโครงการส่งเสริมให้นักศึกษารักการอ่าน ต่อมาเป็นการจัด
สภาพแวดล้อมแล้วและบรรยากาศในการอ่านหรือการเข้าร่วมกิจกรรมการอ่าน รวมทั้ง
มีการประสานความร่วมมือของมหาวิทยาลัยและอาจารย์ได้ช่วยกันกระตุ้นนักศึกษาให้เห็นถึง
ความสำคัญในการอ่าน เช่น อาจารย์เป็นผู้แนะนำหนังสือให้นักศึกษาได้อ่านนอกเวลา
รวมทั้งจัดกิจกรรมการอ่านในชั้นเรียนและนอกชั้นเรีย

Article Details

บท
บทความวิชาการ