รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับกองทุนสวัสดิการชุมชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตอนใต้)*

Main Article Content

นิภา คงเพชร
เสนอ ภิรมจิตรผ่อง
ดำรงค์ฤทธิ์ วิบูลกิจธนากร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับกองทุนสวัสดิการชุมชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตอนใต้) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ กลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้ในการวิจัยภาคสนาม คือ คณะกรรมการบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชน ในภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ (ตอนใต้) จำนวน 671 คน ตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองรูปแบบคือกองทุนสวัสดิการ
ชุมชนจำนวน 3 แห่ง เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล
ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ
และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับกองทุนสวัสดิการชุมชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตอนใต้) มี 5 องค์ประกอบคือ วัตถุประสงค์
ของรูปแบบ หลักการพื้นฐานของรูปแบบ กระบวนการดำเนินงานตามรูปแบบ การประเมินผลรูปแบบ และเงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ องค์ประกอบทั้ง 5 องค์ประกอบ มีความเหมาะสม
มีความเป็นไปได้ในการนำไปสู่การปฏิบัติ มีความถูกต้องตามทฤษฎี และเป็นประโยชน์ โดยรวม
ในระดับมากที่สุด ในส่วนขององค์ประกอบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับกองทุนสวัสดิการชุมชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตอนใต้) ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก 46 ตัวแปร คือ
การวางแผนกลยุทธ์ มี 24 ตัวแปร การกำหนดทิศทางขององค์กร มี 5 ตัวแปร การกำหนดกลยุทธ์
มี 7 ตัวแปร การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ มี 3 ตัวแปร การปฏิบัติตามกลยุทธ์ มี 4 ตัวแปร และการควบคุมและการประเมินกลยุทธ์ มี 3 ตัวแปร เมื่อนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในกองทุนพบว่า สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงและมีความพึงพอใจต่อรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิชาการ