ความขัดแย้งทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของประชาชนที่ส่งผลต่อพัฒนาการทางการเมือง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ทำการศึกษาจากประชาชนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีจุดประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความขัดแย้งทางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมือง
และพัฒนาการทางการเมือง 2) เปรียบเทียบความขัดแย้งทางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมือง
และพัฒนาการทางการเมืองและ 3) สร้างรูปแบบความสัมพันธ์ของปัจจัยความขัดแย้ง
ทางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมืองและพัฒนาการทางการเมืองโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 400 คนได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Random Sampling ) เครื่องมือเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ
มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย t-test ANOVA สัมประสิทธิ์
สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การสมการถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความขัดแย้ง
ทางการเมือง การมีส่วนทางการเมืองและพัฒนาการทางการเมืองในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยอยู่ในระดับมาก 2) เพศที่แตกต่างกันมีผลต่อความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อความขัดแย้งทางการเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนระดับการศึกษาและอาชีพเป็นปัจจัยที่ทำให้ความคิดเห็นต่อความขัดแย้งทางการเมือง การมีส่วนร่วม
ทางการเมือง และพัฒนาการทางการเมืองของประชาชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความขัดแย้งทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
ส่งผลต่อพัฒนาการทางการเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .01