ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียน ของครูสายผู้สอนโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

Main Article Content

ชัยณรงค์ กองศรีมา
เสนอ ภิรมจิตรผ่อง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ เพื่อพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียนของครูสายผู้สอนโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตอนล่าง ซึ่งดำเนินการวิจัย เป็น 4 ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม
แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความเหมาะสม เก็บข้อมูล ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการวิจัยใน ชั้นเรียนของครูสายผู้สอนโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 389 คน และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกครูในโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ 3 คน ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน ครูสาย
ผู้สอนจำนวน 32 คนให้ครูประเมินตนเอง ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้
เพื่อพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียน กับครูสายผู้สอน 1 โรงเรียนจำนวน 5 คน ในเวลา 10 วัน ขั้นตอน
ที่ 4 ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์โดยการประเมิน ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
สภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูสายผู้สอนโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างพบว่าครู มีความรู้ ความเข้าใจอยู่ในระดับน้อย
วิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน พบว่าโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก
มีสมรรถนะภายในมีปัญหาต้องแก้ไขจุดอ่อนภายในโรงเรียนในขณะ มีโอกาสมากที่จะพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียนได้ ผลการประเมินภาพรวม อยู่ในระดับมาก การสร้างยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ประกอบไปด้วย 3 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 ด้านการเรียนรู้และพัฒนา มี 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ 6 ตัวชี้วัด กลยุทธ์ที่ 2 ด้านกระบวนการภายในโรงเรียนมี 2 ประเด็นยุทธศาสตร์
4 ตัวชี้วัด กลยุทธ์ที่ 3 ด้านครูสายผู้สอน มี 2 ประเด็นยุทธศาสตร์ 3 ตัวชี้วัด
ผลของการทดลองใช้ ยุทธศาสตร์ทุกกลยุทธ์โดยการประเมินตนเองก่อนพัฒนา
มีผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยรวม 1.85 ประเมินหลังพัฒนา มีค่าเฉลี่ย 4.90 ภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุดเปรียบเทียบพัฒนามีความรู้ ความเข้าใจ มีค่าเฉลี่ยเป็น +3.50 การตรวจสอบ
ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของยุทธศาสตร์การจัดการความรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับ
มากที่สุด และ ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียน ประกอบด้วย 5
องค์ประกอบ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กลยุทธ์ 4) วิธีดำเนินการ 5) ประโยชน์ที่ได้รับ
ผลการการประเมิน ของผู้ทรงคุณวุฒิ ประเมิน ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ของยุทธศาสตร์การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียนของครูสายผู้สอน
อยู่ในระดับดีมาก

Article Details

บท
บทความวิชาการ