การบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาจิตรกรรมพื้นฐานโดยใช้แหล่งเรียนรู้สถาปัตยกรรมท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อพัฒนาทักษะการวาดภาพสีน้ำ ของผู้เรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาจิตรกรรมพื้นฐานโดยใช้แหล่งเรียนรู้สถาปัตยกรรมท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อพัฒนาทักษะการวาดภาพสีน้ำของผู้เรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของแหล่งเรียนรู้ประเภทสถาปัตยกรรมท้องถิ่นอุบลราชธานีและการนำอัตลักษณ์ของงานสถาปัตยกรรมท้องถิ่นเพื่อนำไปสู่กระบวนการสร้างสรรค์เป็นผลงานจิตรกรรมสีน้ำ ผู้วิจัยกำหนดขอบเขตแหล่งเรียนรู้ทางสถาปัตยกรรมท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี 3 แห่ง คือ หอพระไตรปิฎก วัดทุ่งศรีเมือง สิมวัดแจ้งและพระอุโบสถ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการสัมภาษณ์จำนวน 15 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า แหล่งการเรียนรู้ทางสถาปัตยกรรมท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี มีลักษณะสำคัญ 5 ประการคือ เป็นแหล่งค้นคว้าเพิ่มเติมนอกตำราเรียน เป็นสื่อการสอนที่มีมิติมีชีวิต เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นแหล่งศึกษารูปแบบงานช่างสถาปัตยกรรมและเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ใช้ประสบการณ์ตรง และการนำอัตลักษณ์ของงานสถาปัตยกรรมท้องถิ่นไปสู่กระบวนการสร้างสรรค์เป็นผลงานจิตรกรรมสีน้ำ พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่จะใช้องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ได้แก่ ลักษณะอาคาร การวางผังอาคาร ตำแหน่ง โครงสร้าง ลวดลายประดับอาคารทั้งที่เป็นงานปูนปั้นและงานจำหลักไม้เป็นแนวคิดหลักในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมสีน้ำ