ปรากฏการณ์ทางการเมืองและสังคมที่ปรากฏในบทกวี รางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี ๒๕๖๑

Main Article Content

santi thippana

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองและสังคมในบทกวี  รางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี ๒๕๖๑ จำนวน ๑๓ เรื่อง โดยการวิจัยเชิงคุณภาพและนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ซึ่งศึกษาตามแนวคิดของสมพร มันตะสูตร (๒๕๒๔) และแนวคิดของสันติ ทิพนา (๒๕๕๘) ผลการวิจัยพบว่า ๑) บทกวีนำเสนอถึงความรักชาติ โดยกล่าวถึงสัญลักษณ์  คือธงชาติ ถึงแม้ธงชาติจะเก่าแสนเก่าหรือขาดเป็นริ้วๆ แต่ยังคงความเป็นธงชาติเช่นเดิม ๒) บทกวีนำเสนอหลักการปกครองของประชาธิปไตย เช่น ความเท่าเทียม หลักสิทธิเสรีภาพ หลักความเสมอภาค  การยอมรับความคิดเห็นของแต่ละฝ่าย และเคารพสิทธิของผู้อื่น ๓) บทกวีนำเสนอความแตกต่างและอิสระ  ทางความคิด สะท้อนให้เห็นว่ายังมีประชาชนที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ๔) บทกวีนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาประชาธิปไตยและปัญหาสังคม โดยนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาให้ทุกคนในสังคมตระหนักถึงความเท่าเทียมกัน เคารพสิทธิเสรีภาพ การแสดงออกทางความคิด ไม่มีอคติต่อกัน ๕) บทกวีนำเสนอปัญหาของสังคมไทย ชี้ให้เห็นถึงปัญหาของประเทศที่มีมาอย่างยาวนาน  คือ ประชาธิปไตยในประเทศยังไม่สมบูรณ์ โดยเกิดปัญหา  ความขัดแย้งทางความคิดและอุดมการณ์ทางการเมือง ๖) บทกวีนำเสนอภาพการละเล่นในสมัยก่อน  คือ การเล่นกระโดดยาง ซึ่งต้องอาศัยความรักความสามัคคี และการเคารพกฎกติกาในการเล่น


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จาตุรี ติงศภัทย์. (2546). “การวิเคราะห์กวีนิพนธ์ (อังกฤษ)”, ใน กวีนิพนธ์ นานาชาติ : การศึกษา
เชิงวิจารณ์. กรุงเทพฯ: คมบาง.

ดวงมน จิตร์จำนงค์. (2543). “แนวคิดสำคัญของกวีนิพนธ์ไทยในยุคโลกาภิวัตน์”, สงขลานครินทร์ฉบับ
สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 1-13.

ตองนวล แก้วเกลี้ยง. (2558). “ประชาธิปไตยและสิทธิทมนุษยชนในวรรณกรรมการเมืองไทย :
กรณีศึกษาบทกวีการเมืองรางวัลพานแว่นฟ้า (2546-2555)” วารสารสังคมศาสตร์. 11 (2).
41-72

บุญเหลือ เทพยสุวรรณ, ม.ล. (2520). “หัวเลี้ยวของวรรณคดีไทย”, วรรณไวทยากร (วรรณคดี),
(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

พัชรินทร์ อนันต์ศิริวัฒน์. (2541). รายงานการวิจัยเรื่องวิเคราะห์แนวคิดทางการเมืองในวรรณกรรมไทย
ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2475-2519. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พรเพชร วิชิตชลชัย. (2561). วรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี 2561. กรุงเทพฯ:
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

วุฒิสาร ตันไชย. (2560). ประชาธิปไตยไทย : บางมุมมองที่ถูกละเลย ?. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
4(1),1-33

สันติ ทิพนา. (2559). “วาทกรรมความรักชาติผ่านบทเพลงของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)”.
วารสารวิถีสังคมมนุษย์. 4 (1), 174-201.

สันติ ทิพนา. (2558). ปรากฏการณ์ทางสังคมและกลวิธีการนำเสนอเรื่องสั้นในนิตยสารรายสัปดาห์
ปีพุทธศักราช 2555. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สรศักดิ์ เพียรเวช. (2561). วรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี 2561. กรุงเทพฯ: สำเลขาธิการสภา
ผู้แทนราษฎร.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). วรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี 2561.
กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา. (2541). หวังสร้างศิลป์นฤมิตร เพริดแพร้ว การสืบทอดขนบกับการสร้างสรรค์
วรรณศิลป์ในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.

References

Tingsapat, J. (2003). Poetry analysis (English) in International Poetry: Critical
Study. Bangkok: Khom Bang.

Jitjamnong, D. (2000). Key Concepts of Thai Poetry in Globalization, Songklanakarin
Journal of Social Sciences and Humanities. (January-April) 6th, 1 – 13.

Kaewklieng, T. (2015). Democracy and Human Rights in Thai Political Literature: A Case
Study Political poetry Phan Phan Fah Award (2006-2012).. Journal of Social
Sciences. 11 (2). 41-92.

Debyasuvarn, B. M.L. (1977). The turning point of Thai literature”,Wan Wai
(2nd). Bangkok: Social Sciences and Humanities Textbooks Project. 55 – 156.

Anansiriwat, P. (1998). Research report on the analysis of political concepts
in Thai literature From the year 2475-2517. Phitsanulok:
Naresuan University.

Wichitcholchai, P. (2018). Pan Waen Pha literature Award of annual 2016. Bangkok:
Printing office of the Secretariat of the House of Representatives.

Tunchai, V. (1960). Thai democracy: some views that are ignored Suratthani Rajabhat
Journal.4 (1),.1-33.

Thipphana, S. (2016). "Patriotism discourse through the song of the National Peacekeeping
Council (NCPO)".Journal of Human Social Pathways. 4 (1), 164-201.

Thipphana. (2015). Social phenomena and strategies for presenting short stories in
weekly magazines.Year 2012, Master of Arts Thesis, Rajabhat Maha Sarakham
University.

Pheanwech, S. (2018). Pan Waen Pha literature: Award of annual
2016. Bangkok: Printing office of the Secretariat of the House
of Representatives.

Office of the Secretariat of the House of Representatives. (2018). Pan Waen Pha
literature Award of annual 2016. Bangkok: Printing office of the Secretariat of the House of Representatives.

Chongstatwattana, S. (1998). Wangsangsilp Art Naruemitphet Praew,
Succession, CreationLiterature in modern Thai poetry. Bangkok:
Faculty of Arts, Chulalongkorn University Textbook Project University.