กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา: สาเหตุของปัญหาการค้างชำระหนี้

Main Article Content

วัชราภรณ์ จันทนุกูล
สัญญา เคณาภูมิ

บทคัดย่อ

ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างมาก เนื่องจากการศึกษามีผลต่อการพัฒนาประเทศมาเป็นระยะเวลานานและมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบการศึกษาอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ทันต่อความรู้ที่พัฒนาขึ้นอยู่สม่ำเสมอ ที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหาเกี่ยวกับผู้เรียนส่วนใหญ่ มีทุนทรัพย์    ไม่เพียงพอในการศึกษาต่อเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องจัดตั้ง “กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ” ขึ้น เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งสายสามัญและสายอาชีพจนถึงระดับปริญญาตรีที่มาจากครอบครัวซึ่งมีรายได้น้อยกู้ยืมเงินเพื่อเป็นค่าเล่าเรียน แต่หลังจากได้ให้การกู้ยืมเพื่อการศึกษาไปแล้วนั้น นักเรียน นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาและผ่านช่วงระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปีไปแล้ว ไม่มีการกลับมาใช้หนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษานั้น จึงทำให้เกิดปัญหาการค้างชำระหนี้ ซึ่งสาเหตุของปัญหาการค้างชำระหนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษามีดังนี้ คือ ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา ภาวะการมีงานทำของผู้กู้ บทบังคับในการลงโทษไม่ชัดเจนแน่นอน สิ่งเร้าจากภายนอก และปัจจัยภายในครอบครัว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นพรัตน์ ปิยะพงษ์. (2552). ความยั่งยืนทางการเงินของกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รวิวรรณ เดชานุภาพฤทธา. (2545). การวางแผนทางการเงินเพื่อที่อยู่อาศัยของบัณฑิตประจำปีการศึกษา 2539 ผู้กู้ "กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และ อารียา มนัสบุญเพิ่มพูน. (2549). การประเมินนโยบายกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (โครงการวิจัยการประเมินนโยบายสาธารณะด้านสังคมที่มีความสําคัญ). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

สํานักงบประมาณ สํานักนายกรัฐมนตรี. (2558). เอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 5 รายงานภาวะเศรษฐกิจและการคลัง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลิฟวิ่ง.