พระครูโพนสะเม็ก : ตัวตนทางประวัติศาสตร์และบทบาททางพุทธศาสนากับสังคมการเมือง

Main Article Content

เกียรติศักดิ์ บังเพลิง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวตนของพระครูโพนสะเม็กในบริบทของตำนานประวัติศาสตร์และบทบาทด้านพุทธศาสนากับสังคมการเมือง โดยใช้วิธีวิทยาทางมนุษย์วิทยาศาสนาแบบการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า พระครูโพนสะเม็กมีตัวตนในพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำโขงตอนล่างผ่านตำนานประวัติศาสตร์และความทรงจำในท้องถิ่น ตลอดถึงมีพลวัติความหมายในฐานะสัญลักษณ์ความเชื่อมาจนถึงปัจจุบัน ในด้านบทบาทนั้น  พระครูโพนสะเม็กได้แสดงบทบาททางการเมืองและสังคมจนเกิดเป็นอาณาจักร “นครจำปาสักนาคบุรีศรี” ในอาณาบริเวณลาวใต้ (ซึ่งถูกเรียกว่าแขวงจำปาสักในปัจจุบัน) พร้อมทั้งยังได้วางรากฐานพุทธศาสนาลงในพื้นที่ของชนพื้นเมือง  ผ่านการประนีประนอมกับวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งสะท้อนให้เห็นแบบแผนความสัมพันธ์ของการปรับตัวระหว่างพระสงฆ์กับการเมืองอย่างเป็นรูปธรรมในบริบทท้องถิ่น ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิติรัตน์ สีหบัณฑ์. (2533). การรวมคณะสงฆ์อีสานเข้ากับคณะสงฆ์ไทย พ.ศ. 2434-พ.ศ. 2468. ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จามะรี เชียงทอง. (2550). การเมืองเรื่องชาติพันธุ์ วัฒนธรรม และความรู้พื้นถิ่นในไทย เวียดนาม และลาว. ใน มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด และจอห์น ดอร์ (บ.ก.). ความท้าทายทางสังคมในภูมิภาคแม่น้ำโขง. อุบลราชธานี: ศูนย์วิจัยสังคมอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2542). อยุธยาประวัติศาสตร์และการเมือง = Ayutthaya : history and politics: กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ธงชัย วินิจจะกุล. (2558). การศึกษาประวัติศาสตร์แบบสาแหรก วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ของฟูโกต์. In อนุสรณ์ อุณโณ จันทนี เจริญศรี และ สลิสา ยุกตะนันทน์ (บ.ก.). อ่านวิพากษ์ มิเชล ฟูโกต์. กรุงเทพฯ: ศยาม.