การวิเคราะห์ความต้องการในรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับอาเซียน โดยใช้รูปแบบการสอนแบบมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

Main Article Content

พุทธชาด ลิ้มศิริเรืองไร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความต้องการในรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับอาเซียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษสำหรับอาเซียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 59 คน สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ ชั้นปีที่ 4 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามความต้องการและแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการด้านการวัดผลประเมินผลในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (3.30) ตามด้วยด้านการจัดการเรียนการสอนซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง (3.28) และ ด้านเนื้อหาสาระอยู่ในระดับปานกลาง (2.91) ตามลำดับ ในการสนทนากลุ่ม ผู้ร่วมสนทนาต้องการรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในวิชาภาษาอังกฤษสำหรับอาเซียนโดยเน้นการเรียนรู้วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ของประเทศในอาเซียนมากที่สุด โดยต้องการการเรียนการสอนแบบไม่เคร่งเครียด มีกิจกรรมกลุ่ม มีการใช้เทคโนโลยีในการสอน ประเมินผลจากการปฏิบัติจริง จากการเก็บคะแนน จากแฟ้มสะสมงาน คะแนนสอบย่อย และคะแนนการแต่งตัวและเข้าเรียนตรงเวลา เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การวิจัยสำหรับครู. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

มยุรี ลี่ทองอินและคณะ. (2546). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางใน
วิชาปฏิบัติการบำบัดทางพยาบาลเบื้องต้น. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,
26(1), 25-33.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2544) แนวทางการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้: ผู้เรียนสำคัญที่สุด. บทบาทครูกับการวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.