นิทานข้าว: เรื่องเล่าสีเขียวและความทรงจำสีเขียวของกลุ่มชนในเขตลุ่มน้ำโขงตอนกลาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษานิทานข้าวในฐานะที่เป็นเรื่องเล่าสีเขียวและความทรงจำสีเขียวของกลุ่มชนในเขตลุ่มน้ำโขงตอนกลาง โดยใช้แนวคิดวรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศและแนวคิดความทรงจำทางสังคมเป็นเครื่องมือหลักในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มชนในเขตลุ่มน้ำโขงตอนกลางถือเป็นกลุ่มชนที่มีความเป็นพหุลักษณ์ทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยเรื่องเล่าสีเขียวและนำไปสู่การสร้างความทรงจำสีเขียว ซึ่งเรื่องเล่าชุดสำคัญคือนิทานข้าว ที่นำเสนอให้เห็นว่าอาณาบริเวณดังกล่าวเต็มไปด้วยความหลากหลายของสายพันธุ์ข้าวและตัวนิทานเองได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการต่อสู้และต่อรองกับกลุ่มชนที่ผูกขาดอำนาจในทางสังคม ทั้งยังมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมสมัยใหม่ด้วย ขณะเดียวกันนิทานข้าวยังถูกทำให้เป็นเรื่องเล่าศักดิ์สิทธิ์ที่แสดงนัยของการสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ อันจะนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกเชิงนิเวศได้อย่างน่าสนใจ
Article Details
References
ปรีชา เปี่ยมพงษ์สานต์. (2542). เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มงกุฎ แก่นเดียว. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคอีสาน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทยธนาคารไทยพานิชย์.
สรณัฐ ไตลังคะ. (2560). ศาสตร์และศิลป์แห่งการเล่าเรื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (2555). “ระหว่างประวัติศาสตร์กับความทรงจำ” ใน ประวัติศาสตร์นอกขนบ. กรุงเทพฯ: อินทนิล. หน้า 48-59.
Sever, Stephanie. (1994). What is Ecocriticism? Retrieved May 15, 2005, from: https://www.asle.unm. Edu/conf/other-conf/wla/sarver.html