The Development Guidelines for Khaen Accompaniment in Khap Performing Arts in Lao PDR.
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายของการศึกษา คือ 1. เพื่อศึกษาความเป็นมาของการเป่าแคนประกอบการขับในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2. เพื่อศึกษาหลักวิธีการเป่าแคนประกอบการขับ ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 3. เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการเป่าแคนประกอบการขับ ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการเก็บข้อมูลทั้งข้อมูลเอกสาร และข้อมูลสนาม โดยวิธีการสัมภาษณ์ การสังเกต และการสนทนากลุ่ม ใน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ผลการศึกษาพบว่า การเป่าแคนประกอบการขับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นการแสดงที่มีการพัฒนาจากการดำเนินชีวิต วิถีชีวิต ค่านิยม ความเชื่อ และศาสนาซึ่งจะใช้แสดงในงานบุญประเพณีเป่าประกอบการอ่านหนังสือผูก และกลายมาเป้นการขับงึม ขับเซียงขวางและขับซำเหนือ ซึ่งมีหลักวิธีการเป่าแคนประกอบการขับมีความคล้ายกับ Ostinato ของดนตรีฝั่งตะวันตก
Article Details
References
เจริญชัย ชนไพโรจน์. (2526). ดนตรีและการละเล่นพื้นบ้านอีสาน. มหาสารคาม : คณะมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
พิทยวัฒน์ พันธะศรี. (2554). มโหรี : ความอยู่รอดและการเปลี่ยนแปลงของมโหรีในสังคมเขมร.
วิทยานิพนธ์ ปร.ด. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทองคำ อ่อนมะนีสอน (2541 ก). มรดกลำสีพันดอน-ลำโสม. เวียงจันทร์ : มูลนิธิโตโยต้าแห่งประเทศญี่ปุ่น.
บัวแก้ว จะเลินลังสี. (2536). การปฏิวัติลาวและวรรณคดีปฏิวัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. เวียงจันทร์ : สำนักพิมพ์และ
จำหน่ายหนังสือแห่งรัฐสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
วิรุณ ตั้งเจริญ. (2552). สุนทรียศาสตร์เพื่อชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ : สันติศิริการพิมพ์.
สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2544). การศึกษาสังคมและวัฒนธรรม : แนวความคิด วิธีวิทยา และทฤษฏี. ขอนแก่น :
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Joanna T. P. (2004) Sounding the Spirit of Cambodia The Living Tradition of
Khmer Music and Dance-Drama in a Washington, D.C. Community. Maryland :
University of Maryland.
William, P. Malm. (1974). Music Culture of The Pacific, The Near East, and Asia. Englewood
Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall.