การวิจัยแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อสร้างวิธีการออกแบบเส้นทางจักรยานสำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตธนบุรี คลองสานและบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

julalak jarujatarat

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ชุมชนในเขตธนบุรี คลองสานและบางกอกใหญ่  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักปั่นจักรยานที่อาศัยอยู่ภายในชุมชนจำนวน 30 คนที่มีส่วนร่วมในงานวิจัย  โดยใช้การสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างและใช้เกณฑ์ประเมินความเหมาะสมด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในด้านความหลากหลาย ความสวยงามของวิวและบรรยากาศข้างทางระหว่างปั่น และความสวยงามของสถานทีท่องเที่ยว รวมทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวที่เยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ชุมชนในเขตธนบุรี คลองสานและบางกอกใหญ่  ซึ่งพบว่าเส้นทางที่ออกแบบได้รับผลประเมินความพึงพอใจในภาพรวมผลอยู่ในระดับดีมาก แต่ยังมีสิ่งที่ต้องแก้ไขในระดับพื้นที่เพื่อให้ผู้ปั่นสามารถเข้าถึงสถานที่ท่องเที่ยวได้อย่างปลอดภัย  การวิจัยยังครั้งนี้จะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการรายงานผลไปกระทรวงคมนาคมในด้านการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกของเส้นทางจักรยานในชุมชนเมือง การกำหนดนโยบายด้านความปลอดภัยของนักปั่นจักรยานทั้งคนไทยและคนต่างประเทศและกระทรวงการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในด้านการกระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยการใช้จักรยาน และการใช้จักรยานจะช่วยลดมลภาวะทางอากาศในชุมเมืองอย่างชัดเจน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวฉบับที่ 2 (2560-2564).
กรุงเทพฯ: คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
จุฬาลักษณ์ จารุจุฑารัตน์. (ผู้ถ่ายภาพ). (2559). ลักษณะเส้นทางจักรยานในพื้นที่ [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ:
สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
ธีรยุทธ พึ่งเทียร. (2543). สถิติเบื้องต้นและการวิจัย. กรุงเทพฯ: สูตรไพศาล.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร. เพรสแอนด์ดีไซน์.
ปิยพร ท่าจีนและสามารถ มั่งมีสิน. (2560). การศึกษาทรัพยากรและพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิง
วัฒนธรรมทางน้ำคลองบางเขน กรุงเทพมหานคร. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
พณกฤษ อุดมกิตติ. (2557). การจัดการเส้นทางจักรยานเพื่อการท่องเที่ยวยั่งยืนในพื้นที่เขตตลิ่งชัน
กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ Veridian E-Juornal. ปีที่ 7. ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2557. หน้า 561-578
อดิเรก อุ่นเจริญและพลเดช เชาวรัตน์. (2558). ระบบจักรยานเพื่อการท่องเที่ยว กรณีศึกษา: อำเภอคำ
ม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนาเพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียนครั้งที่ 2. วันที่ 18-19 มิถุนายน 2558. วิทยาลัยนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. หน้า 234-241.