ความรู้ และเจตคติต่อการสร้างเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุด้วยพิธีกรรมพื้นบ้านล้านนา องค์การบริหารส่วนตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

samart Jitae

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสานวิธีนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ เจตคติ และพยากรณ์ปัจจัยที่มีอิทธิพลกับการสร้างเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุด้วยพิธีกรรมพื้นบ้านล้านนา  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม  จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 236 ครัวเรือนและผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 20 คน  เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุมีระดับความรู้เกียวกับพิธีกรรมพื้นบ้านล้านนาเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพจิตโดยรวมเฉลี่ยระดับดี (ร้อยละ 89.01) และมีเจตคติต่อการสร้างเสริมสุขภาพจิตด้วยพิธีกรรมพื้นบ้านล้านนาโดยรวมเฉลี่ยระดับสูง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.64) ทั้งนี้จำนวนสมาชิกในครัวเรือนและความรู้พิธีกรรมพื้นบ้านล้านนาเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กับเจตคติต่อการใช้พิธีกรรมพื้นบ้านล้านนาเพื่อการเสริมสร้างสุขภาพจิตของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p – value = 0.000 และ 0.000 ตามลำดับ) นอกจากนี้พิธีกรรมพื้นบ้านล้านนายังเป็นการสะท้อนทางเลือกในการสร้างเสริมสุขภาพจิตของผู้คนภายใต้กฎเกณฑ์ชุมชน ความเชื่อ และทรัพยากรในชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัทธร สุขสีทอง. (2560). ภูมิปัญญาพื้นบ้านลา้นนากับการเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วน ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 23(2), 164–173. ทิพย์วารี สงนอก และนนทิยา จันทร์เนตร. (2561). ภูมิปัญญาด้านการบำบดัรักษาโรคของหมอยาพื้นบ้าน ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย, 12(3), 124-135. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะลวงนอก. (2557). ข้อมูลภาวะสุขภาพชุมชน. เอกสารอัดสำเนา สามารถ ใจเตี้ย. (2561). การสื่อสารพิธีกรรมล้านนาเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารวิชาการนวัตกรรม สื่อสารสังคม, 6(2), 142–151. อทิตยา ใจเตี้ย. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสขุภาพจิตของผู้สูงอายใุน เขตเมือง. วารสารสวนปรุง, 31(1), 38–48. Anderson, A.N. (2011). Treating depression in old age: the reasons to be positive. Age and Aging, 30, 13–7. Claire, S. & Norbert, S. (2015). The Relationship between Diabetes and Mental Health Conditions in an Aging Population.Canadian Journal of Diabetes, 40 (1), 1 – 4. Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. New York: John Wiley and Sons Inc.
Atitaya Jaitae. (2015). Relationship among self-care behaviors of the elderly in urban areas regarding their mental health. Bulletin of Suanprung, 31(1), 38-48. Nutorn Suksritong. (2017). Lana Local wisdom for health promotion of elderly in Saluang Subdistrict Administative Organization, Mae Rim District, Chiang Mai Province. Christain University of Thailand Journal, 23(2), 164-173. Salung Nok Sub- District Health Promoting Hospital. (2014). Community Health Data. Mimeograph. Samart Jaitae. (2018). Lanna ritual on communication for health promotion. The journal of social communication innovation, 6(2), 142–151. Thipwari Songnok & Nonthiya Channete. (2018). Local wisdom in treatment of traditional chemists in Nakhon Ratchasima NRRU Community Research Journal, 12(3), 124-135.
Anderson, A.N. (2011). Treating depression in old age: the reasons to be positive. Age and Aging, 30, 13–7. Claire, S. & Norbert, S. (2015). The Relationship between Diabetes and Mental Health Conditions in an Aging Population.Canadian Journal of Diabetes, 40 (1), 1–4. Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. New York: John Wiley and Sons Inc.