สหกรณ์กองทุนสวนยาง: ยุทธวิธีการดำรงชีพของเกษตรกรชาวสวนยางพารา ภายใต้สถานการณ์ราคายางที่ผกผัน กรณีศึกษาชุมชนบ้านวังพา ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

Asawatep Suphajaroenkool

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษายุทธวิธีการดำรงชีพของเกษตรกรชาวสวนยางพาราในชุมชนบ้านวังพา ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ภายใต้ราคายางผกผัน ใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่มย่อย การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม เป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลภาคสนาม ร่วมกับการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ เกษตรกรที่ประกอบอาชีพการทำสวนยางพาราที่ถือครองที่ดินเป็นเจ้าของสวนยางพาราและเป็นสมาชิกของสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านวังพา จำกัด มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 30 คน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มา วิเคราะห์เชิงเนื้อหาและเขียนรายงานผลโดยการพรรณนาวิเคราะห์ และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดยใช้การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า


      ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรชาวสวนยางพาราในชุมชนบ้านวังพา ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ได้มีการปรับเปลี่ยนการดำรงชีพและสร้างยุทธวิธีในการดำรงชีพ โดยการจัดการทุนทางสังคมในชุมชน ด้วยการเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มเครือข่ายทางสังคมหรือสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้าน    วังพา จำกัด เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในการประกอบอาชีพของเกษตรกรชาวสวนยางพาราภายใต้สถานการณ์ราคายางที่ผกผัน ทั้งนี้การรวมกลุ่มในรูปของสหกรณ์ถือเป็นการสร้างเครือข่ายทางสังคม และความมั่นคงในการประกอบอาชีพให้กับเกษตรกรชาวสวนยางพารา เพราะสหกรณ์กองทุนสวนยางเป็นสถาบันของเกษตรกรเพื่อเกษตรกร โดยนัยนี้ การรวมกลุ่มของเกษตรกรชาวสวนยางพารา และการจัดการทุนทางสังคมในรูปของสหกรณ์กองทุนสวนยาง จึงถือเป็นอีกหนึ่งยุทธวิธีในการดำรงชีพเพื่อความอยู่รอดของเกษตรกรภายใต้ราคายางพาราที่ผกผัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การยางแห่งประเทศไทย. (2561). ยางแผ่นรมควัน มาตรฐาน GMP ยกระดับคุณภาพยางไทย. สืบค้นจากhttps://www.raot.co.th/main.php?filename=index เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561.
ชินสัคค สุวรรณอัจฉริย และกลาโสม ละเต๊ะ. (2560). ต้นทุนธุรกรรมของการรวบรวมและจาหน่ายน้ายางสด ของเครือข่ายสหกรณ์กองทุนสวนยางในอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา. ปาริชาต, 30(2), 217-239.
ชูชาติ ตันอังสนากุล และวรรณดี สุทธินรากร. (2559). ทางออกเพื่อความมั่นคงในอาชีพของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา. ศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 31(1), 57-62.
บัญชา สมบูรณ์สุข, ประวัติ เวทย์ประสิทธิ์, กนกพร ภาชีรัตน์ และ ภัทรพงศ์ เกริกสกุล. (2554). การเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงอาชีพและการจัดการ ทรัพยากรของเกษตรกรชาวสวนยางพาราขนาดเล็ก. วิทยาสารเกษตรศาสตร์ (สังคมศาสตร์), 32(1), 29-40.
มานะ นาคำ. (2559). การดำรงชีพของชาวสวนผสมแบบยกร่องลุ่มน้ำแม่กลอง. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 33(3), 163-192.
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2561). รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2560 และแนวโน้มปี 2561. สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.
โสภณ มูลหา. 2554. ยุทธศาสตร์การดำรงชีพของครัวเรือนเกษตรกรในชุมชนบริเวณเขื่อนอุบลรัตน์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
โสภณ มูลหา, ทรงเกียรติ ซาตัน, มนชาย ภูวรกิจ, ปรีชา ทับสมบัติ และธนัญชัย เฉลิมสุข. (2558). ยุทธศาสตร์การดำรงชีพของครัวเรือนเกษตรกรในชุมชนบ้านคำไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. วิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, 2(1), 80-111.
อารีย์ จันแก้ว, บัญชา สมบูรณ์สุข, อาแว มะแส และเก็ตถวา บุญปราการ. (2552). การเปรียบเทียบการดำรงชีพระหว่างครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่ผลิตยางแผ่นดิบ และครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่ผลิตน้ำยางสด ในตำบลนาหมอบุญ อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. บทความการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 1 ณ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน 2552. หน้า 475-483.
อารีย์ จันแก้ว. (2553). การดำรงชีพของครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่ผลิตยางแผ่นดิบ และครัวเรือนที่ผลิตน้ำยางสดในตำบลนาหมอบุญ อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).
John Sumelius, ShimellesTenaw, Faustine K. Beeand Suleman Chambo. (2015). Agenda on cooperatives for development cooperation in Tanzania. Journal of Co-operative Organization and Management,3, 98-100.
Morris Altman. (2015). Cooperative organizations as an engine of equitable rural economic development. Co-operative Organization and Management, 3, 14–23.