คุณภาพการบริการของเจ้าหน้าที่นำชมพิพิธบางลำพู กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

sirirat khantong

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การศึกษาเรื่องคุณภาพการบริการของเจ้าหน้าที่นำชมพิพิธบางลำพู กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 2 ประการคือ 1. เพื่อทราบทัศนคติผู้ใช้บริการต่อคุณภาพการบริการของเจ้าหน้าที่นำชมพิพิธบางลำพู 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติผู้ใช้บริการต่อคุณภาพการบริการของเจ้าหน้าที่นำชมพิพิธบางลำพู จำแนกตามลักษณะปัจจัยส่วนบุคคล การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ   ที่ใช้บริการเจ้าหน้าที่นำชมพิพิธบางลำพู เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม โดยการใช้วิธีการเก็บตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) จำนวน 385 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ (t-test) และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ANOVA สถิติที่ใช้คือ (F-test) ในกรณีที่ทดสอบแล้วมีนัยสำคัญทางสถิติจะทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยใช้การเปรียบเทียบพหุคูณ (Multiple comparison test) ตามวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method)


ผลการศึกษาพบว่า 1) นักท่องเที่ยวที่ใช้บริการเจ้าหน้าที่นำชมพิพิธบางลำพูส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุ 20-29 ปี เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย การศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นนักเรียน/นักศึกษา และผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีรายได้ระหว่าง 2,0001-3,000 ดอลลาร์ 2) นักท่องเที่ยวที่ใช้บริการเจ้าหน้าที่นำชมพิพิธบางลำพู มีทัศนคติต่อคุณภาพการบริการโดยรวมและในรายด้านทุกด้าน ได้แก่ ด้านการจับต้องได้ ความเป็นรูปธรรมของการบริการ ด้านมีความน่าเชื่อถือ ไว้วางใจ ด้านการตอบสนองการบริการ และด้านความเชื่อมั่นของการให้บริการ ด้านการเอาใจใส่การบริการ อยู่ในระดับดีมาก 3) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า นักท่องเที่ยวที่มีลักษณะปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน มีทัศนคติต่อคุณภาพการบริการของเจ้าหน้าที่นำชมพิพิธบางลำพูไม่แตกต่างกัน ไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ยกเว้นแต่ปัจจัยส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษาเท่านั้น       ที่มีทัศนคติต่อคุณภาพการบริการของเจ้าหน้าที่นำชมพิพิธบางลำพูแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง
กานต์สินี ปิติวีรารัตน์. (2012). คุณภาพการบริการและกระบวนการบริการในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร. วารสารวิจัยมสด., 8(1), 61- 70.
คมสิทธิ์ เกียนวัฒนา. (2552). การศึกษาแรงจูงใจของเยาวชนไทยต่อการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชลธิรศน์ สุขหอม. (2556). ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการให้บริการของศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : จามจุรีโปรดักท์.
พิพิธบางลำพู. (2562). เกี่ยวกับเรา. [ออนไลน]. ได้จาก: https://banglamphumuseum.treasury.go.th/news_view.php?nid=83 [สืบค้นเมื่อ วันที่ 12 มีนาคม 2562].
พงศธร จันทร์วิโรจน์, ณักษ์ กุลิสร์ (2554). พฤติกรรมและทัศนคติของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยหลังเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง. วารสารสุทธิปริทัศน์, 25(77), 33-46.
รติรส อินกล่ำ. (2557). คุณภาพการบริการของศูนย์บริการข่าวสารการท่องเที่ยวการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 10(1), 59-71.
ละเอียด ศิลาน้อย. (2560). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณทางมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ (เน้นการบริหารธุรกิจ การท่องเที่ยว และการโรงแรม). (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิวิศนา ทับทิม, อุษณีย์ เส็งพาณิช, และบุษบา หินเธาว์ (2556). คุณภาพการให้บริการของเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้เทศบาลเมืองอรัญญิก จังหวัดพิษณุโลก. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 7(1), 90-99.
สุวิมล ติรกานันท์. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ :แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภินตา สรรพศรี. (2553). การประยุกต์ใช้ SERVQUAL ในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ : กรณีศึกษา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารงานวัฒนธรรม), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
GQ Thailand. (2561). 5 พิพิธภัณฑ์ที่คุณควรไป ผ่านมุมมองคนสายเที่ยว ไม่แพ้พิพิธภัณฑ์ชื่อก้องโลก. [ออนไลน]. ได้จาก: https://www.gqthailand.com/life/article/5-museums [สืบค้นเมื่อ วันที่ 12 มีนาคม 2562].
MUSEUM THAILAND. (2562). การจัดอันดับผู้เข้าชมสูงสุด. [ออนไลน]. ได้จาก: https://www.museumthailand.com/th/462/webboard/topic/ [สืบค้นเมื่อ วันที่ 12 มีนาคม 2562].
MUSEUM THAILAND. (2562). ความหมายของพิพิธภัณฑ์. [ออนไลน]. ได้จากhttps://www.museumthailand.com/th/462/webboard/topic/ [สืบค้นเมื่อ วันที่ 12 มีนาคม 2562].

BIBLIOGRAPHY
Banglumpoo Museum. (2019). About Us. [online]. Available from: https://banglamphumuseum.treasury.go.th/news_view.php?nid=83 [accessed 12 March 2019].
Chanwirot, P., & Gulid, N. (2011). Foreign Tourists’ Behavior and Attitude towards Traveling in Thailand after political crisis. Suthiparithat Journal, 25(77), 33-46.
GQ Thailand. (2561). 5 museums that you should to go (Through the viewpoint of people traveling Not losing the world famous museum). [online]. Available from: https://www.gqthailand.com/life/article/5-museums [accessed 12 March 2019].
Inklam, R. (2014). Measuring Service Quality of Tourism Information Center at Suvarnabhumi airport. International Thai Tourism Journal, 10(1), 59-71.
Khazanie, R. (1996). Statistics in a World of Applications. Fourth Edition. New York, USA: HarperCollins College Publishers.
Kieanwatana, K. (2009). A study of Thai youth motivation towards museum tourism in Bangkok metropolis and its perimeter. Thesis Master of Science, Chulalongkorn University.
KijpredaBorisut, B. (2008). Social sciences research methodology. (10th ed.). Bangkok : Chamchuree Product.
MUSEUM THAILAND. (2562). Top Museum. [online]. Available from: https://www.museumthailand.com/th/462/webboard/topic/ [accessed 12 March 2019].
MUSEUM THAILAND. (2562). meaning of the museum. [online]. Available from: https://www.museumthailand.com/th/462/webboard/topic/ [accessed 12 March 2019].
Pitiweerarat, K. (2012). Service Quality and Process at the Bangkok National Museum. SDU Research Journal Humanities and Social Sciences, 8(1), 61-70.
Silanoi, L. (2017). Quatitative Research Methodologies for Humanities and Social Sciencesb (Focus on business management, tourism and hotel). (2nd ed.). Mahasarakham: Faculty of Tourism and Hotel Management Mahasarakham University.
Sukhom, C. (2013). The International Tourists Expectation and Satisfaction towards Service of Tourist Information Center’s Tourism Authority of Thailand at Suvarnabhumi Airport. Thesis Master of Science, Chulalongkorn University.
Suppasri, A. (2010). Application of SERVQUAL in science museum : case study of National Science Museum. Master of Arts (Cultural Management), Thammasat University
Tirakanant, S. (2008). Research Methodology in Sciences : Guidelines for practice. Bangkok: Chulalongkorn University.
Tubtim, W., Seangpanich, U., & Hinthao, B. (2013). Service Quality of Revenue official Arunyik Municipality, Phitsanulok Province. Humanities and Social Sciences Journal of Graduate School, Pibulsongkram Rajabhat University, 7(1), 90-99.