กระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูไพฑูรย์ จรรย์นาฏย์

Main Article Content

ชัยเทพ ชัยภักดี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ชีวประวัติของครูไพฑูรย์ จรรย์นาฏย์ 2) ศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูไพฑูรย์ จรรย์นาฏย์ วิธีดำเนินการวิจัยใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย นำเสนอข้อมูลเป็นความเรียง


    ผลการวิจัย 1) ชีวประวัติ ประกอบด้วย 4 ด้าน (1) ข้อมูลทั่วไป เป็นบุตรของครูเพชร จรรย์นาฏย์ กับนางปริก จรรย์นาฏย์ สมรสกับนางสังวาลย์ จรรย์นาฏย์ และนางทองหยด จรรย์นาฏย์ มีบุตรธิดารวม 15 คน (2) การศึกษา เรียนหนังสือในวังบูรพาภิรมย์ เรียนดนตรีกับครูเพชร จรรย์นาฏย์ และหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) (3) การทำงาน รับราชการเป็นมหาดเล็กนักดนตรีวังบางคอแหลม (4) ผลงาน ประพันธ์เพลงทั่วไปและเพลงเดี่ยว 2) กระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอก ประกอบด้วย 4 ด้าน (1) ผู้สอน มีองค์ความรู้ทางทฤษฎีและปฏิบัติ (2) ผู้เรียน มีคุณสมบัติของนักดนตรีที่ดี (3) เนื้อหาสาระ บทเพลงทางครูเพชร จรรย์นาฏย์ และบทเพลงประพันธ์ใหม่ (4) การจัดการเรียนการสอน ใช้วิธีการการสอนทางตรงและทางอ้อม วัดประเมินผลโดยการสังเกต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชิ้น ศิลปบรรเลง. (2521). ดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2560). วิธีวิทยาการสอนดนตรี. กรุงเทพฯ: พรรณพริ้นติ้งเซ็นเตอร์.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2561). ดนตรีศึกษา หลักการและสาระสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประเวท กุมุท. (2521). จริยวัตรของนักดนตรีไทย. ใน งานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
พิชญาภา มานะวิริยภาพ. (2559). การศึกษากระบวนการถ่ายทอดและเทคนิคการสอนขิมของอาจารย์นิธิ ศรีสว่าง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
พิทักษ์ จรรย์นาฏย์. 17 พฤศจิกายน 2560. สัมภาษณ์.
พิทักษ์ จรรย์นาฏย์. 3 ธันวาคม 2561. สัมภาษณ์.
พิทักษ์ จรรย์นาฏย์. 7 พฤษภาคม 2562. สัมภาษณ์.
พูนพิศ อมาตยกุล และคณะ. (2532). นามานุกรมศิลปินเพลงไทยในรอบ 200 ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้ว.
พูนพิศ อมาตยกุล. (2527). ดนตรีวิจักษ์ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับดนตรีไทยเพื่อความชื่นชม. กรุงเทพฯ: เกียรติธุรกิจ จำกัด
มาศสุภา สีสุกอง. (2531). พัฒนาการของการศึกษาวิชาชีพดนตรีไทยในสมัยรัตนโกสินทร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
สงบศึก ธรรมวิหาร. (2545). ดุริยางค์ไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย. (2538). เกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย พุทธศักราช 2538. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย.
สุภางค์ จันทวานิช. (2561). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรพล สุวรรณ. (2549). ดนตรีไทยในวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวรรณา วังโสภณ. (2547). การศึกษาวัฒนธรรมการถ่ายทอดดนตรีประจำชาติไทยและญี่ปุ่น. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
เสถียร ดวงจันทร์ทิพย์. (2535). ครูบุญยงค์ เกตุคง ศิลปินแห่งชาติ: ระนาดไข่มุกหล่นบนจานหยก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
เสนาะ หลวงสุนทร. 15 มกราคม 2556. สัมภาษณ์.
เสาวภาคย์ อุดมวิชัยวัฒน์. (2559). การวิเคราะห์อัตลักษณ์ความเป็นครูดนตรีไทยของครูสำราญ เกิดผล ศิลปินแห่งชาติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
อุทัย ศาสตรา. (2553). กระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูประสิทธิ์ ถาวร ศิลปินแห่งชาติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
Saskatchewan Education. (1991). Instructional Approaches: A Framework for Professional Practice.
Joyce, Bruce, Marsha Weil and Emily Calhoun. (2009). Models of Teaching. Boston, MA: Pearson. (371.3 J851M 2009).