การพัฒนาสมรรถนะครูปฐมวัยในการจัดการเรียนรู้โครงงานสะเต็ม
Main Article Content
บทคัดย่อ
สะเต็มศึกษาได้รับการยอมรับว่าเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในการเตรียมกำลังคนให้พร้อมด้วยทักษะและองค์ความรู้ สามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนในโลกปัจจุบัน ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกส่งเสริมให้ใช้สะเต็มศึกษาในทุกระดับ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยที่ผ่านมาระบุว่าครูปฐมวัยส่วนใหญ่ยังขาดความมั่นใจในการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็ม เนื่องจากไม่ค่อยเข้าใจเกี่ยวกับสะเต็มศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้สะเต็มและโครงงานสะเต็มด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการระยะสั้น กลุ่มที่ศึกษา คือ ครูปฐมวัยที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการวิจัย จำนวน 64 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หลักสูตรอบรมการจัดการเรียนรู้โครงงานสะเต็ม 2) แบบทดสอบก่อนและหลังการอบรมสำหรับประเมินความเข้าใจเกี่ยวกับสะเต็มและโครงงานสะเต็ม และ 3) แบบสอบถามการสะท้อนคิดเกี่ยวกับประสบการณ์การใช้โครงงานสะเต็มกับเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาโดยปราศจากการตีความ ผลการวิจัยพบว่า ครูมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มและโครงงานสะเต็ม นอกจากนี้ครูรู้สึกมั่นใจและบ่งชี้ว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานสะเต็มสามารถพัฒนาเด็กด้านองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และทักษะทางสะเต็มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
References
จำรัส อินทลาภาพร, มารุต พัฒผล, วิชัย วงษ์ใหญ่, และศรีสมร พุ่มสะอาด. (2558). การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาสำหรับผู้เรียนระดับประถมศึกษา. Veridian E-Journal Silapakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(1), 62-74.
พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). สะเต็มศึกษากับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 33(2), 49-56.
ภพ เลาหไพบูลย์. (2542). แนวการสอนวิทยาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
มนตรี จุฬาวัฒนทล. (2556). สะเต็มศึกษาประเทศไทยและฑูตสะเต็ม. นิตยสาร สสวท, 42(185), 14-18.
วรกันยา แก้วกลม, พินิจ ขำวงษ์, และจรรยา ดาสา. (2561). สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาของครูวิทยาศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษา. Veridian E-Journal Silapakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(3), 2092-2112.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557ก). รู้จักสะเต็ม. สืบค้น 15 ตุลาคม 2560 จาก https://www.stemedthailand.org/?page_id=23
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557ข). ยุทธศาสตร์สะเต็มศึกษากำหนดไว้อย่างไร?. สะเต็มศึกษา ประเทศไทย. สืบค้น 15 ตุลาคม 2560 จาก https://www.stemedthailand.org/?faq=ยุทธศาสตร์สะเต็มศึกษาก-2
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557ค). สะเต็มศึกษา. กรุงเทพ ฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สืบเมื่อ 15 ตุลาคม 2560 จาก https://www.stemedthailand.org/wp-content/uploads/2015/03/Intro-to-STEM.pdf
อาทิตย์ โพธิ์ศรีทอง. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครู เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ทางดนตรี ในศตวรรษที่ 21. (ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ). สืบค้น 20 เมษายน 2562 จาก https://thesis.swu.ac.th/swudis/Edu_SLM/Arethit_P.pdf
Creswell, J. W. (2014). Research design: qualitative, quantitative, and mixed methods approach (4th ed.). USA: SAGE Publications, Inc.
Breiner, J., Harkness, S., Johnson, C., & Koehler, C. (2012). What is STEM? A discussion about conceptions of STEM in education and partnerships. School Science and Mathematics, 112(1), 3–11.
Brenneman, K. (2010). Planned explorations and spontaneous discoveries: Supporting scientific inquiry in preschool. Austin, TX: DML Summer Institute.
Early Childhood STEM Working Group. (2017). Early STEM matters: A policy report. Retrieved October 12, 2018 from https://d3lwefg3pyezlb.cloudfront.net/docs/Early_STEM_Matters_FINAL.pdf
Herschabach, D.R. (2011). The STEM initiative: Constraints and challenges. Journal of STEM Teacher Education, 48(1), 96-122
Jamil, F., Linder, S., & Stegelin, D. (2017). Early childhood teacher beliefs about STEAM education after a professional development conference. Early Childhood Education Journal, 46, 1–9.
Kelley, T. R., & Knowles, J. G. (2016). A conceptual framework for integrated STEM education. International Journal of STEM Education, 3(1), 1–11.
National Research Council. (2011). Successful K-12 STEM education: identifying effective approaches in science, technology, engineering, and mathematics. Washington, DC: The National Academies Press. https://doi.org/10.17226/13158.
Pasnik, S., & Hupert, N. (2016). Early STEM learning and the roles of technologies. Waltham, MA: Education Development Center, Inc.
Pennsylvania Department of Education. (2014, September). The framework for integrative science, technology, engineering & mathematics (STEM) education endorsement guidelines. Retrieved from https://www.education.pa.gov/Documents/Teachers-Administrators/Certification%20Preparation%20Programs/Specific%20Program%20Guidelines/Integrative%20Science,%20Technology,%20Engineering,%20Mathematics%20(STEM)%20Education%20Guidelines.pdf
McClure, E., Guernsey, L., Clements, D., Bales, S., Nichols, J., et al. (2017). How to integrate STEM into early childhood education. Science and Children, 55(2), 8-10.
Linder, S.M., Emerson, A.M., Heffron, B., Shevlin E., Vest, A., & Eckhoff, A. (2016). STEM use in early children education: Viewpoints from the field, Young Children, 71(3), 87-91.
Sanders, M. (2009). Integrative STEM education primer. The Technology Teacher, 68(4), 20–26.
Simoncini, K., & Lasen, M. (2018). Ideas about STEM among Australian early childhood professionals: How important is STEM in early childhood education? International Journal of Early Childhood, 50, 353-369.
Vasquez, J., Sneider, C., & Comer, M. (2013). STEM lesson essentials Grade 3-8: integrating science, technology, engineering, and mathematics. Portsmouth, NH: Heinemann.