การศึกษาระดับพัฒนาการของงผลการเรียนรู้ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) โดยใช้รูปแบบการสอนในกลุ่มวิชาที่เน้นการบรรยาย ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาระดับพัฒนาการของผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยใช้รูปแบบการสอนในกลุ่มวิชาที่เน้นการบรรยาย 2)ศึกษาระดับพัฒนาการของผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยใช้รูปแบบการสอนในกลุ่มวิชาที่เน้นการปฏิบัติ 3)ศึกษาขนาดของผลที่เกิดจากรูปแบบการสอนในกลุ่มวิชาที่เน้นการบรรยาย ในการยกระดับผลการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) 4) การศึกษาขนาดของผลที่เกิดจากรูปแบบการสอนในกลุ่มวิชาที่เน้นการปฏิบัติ ในการยกระดับผลการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) 5) การศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนทั้งในกลุ่มวิชาที่เน้นการบรรยาย และกลุ่มวิชาที่เน้นการปฏิบัติ โดยการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ รูปแบบการสอนในกลุ่มวิชาที่เน้นการบรรยาย และรูปแบบการสอนในกลุ่มวิชาที่เน้นการปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทำวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีที่ลงทะเบียนเรียนกับอาจารย์ที่เป็นอาสาสมัครในการทำวิจัย ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตาม SUI Model 2แผนการจัดการเรียนรู้ตาม IK Model 3) แผนการจัดการเรียนรู้ตาม 5K Model 4) แผนการจัดการเรียนรู้ตาม 5B Model 5) แผนการจัดการเรียนรู้ตาม PPP+P Model 6) แผนการจัดการเรียนรู้ตาม KDA Model 7) แผนการจัดการเรียนรู้ตาม PC Model 8) แผนการจัดการเรียนรู้ตาม SIC Model 9) แบบบันทึกและรวบรวมผลการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ และคำนวณค่าสถิติพื้นฐานสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาพัฒนาการของผลการเรียนรู้ตามกรอบ TQF โดยใช้รูปแบบการสอนในกลุ่มวิชาที่เน้นการบรรยาย พบว่า 1) รูปแบบการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านคุณธรรม จริยธรรมอยู่ในระดับสูงมาก ได้แก่ IK Model ซึ่งผู้เรียนมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก และ SUI Model ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการอยู่ในระดับดี ซึ่งผู้เรียนมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก 2) รูปแบบการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านความรู้อยู่ในระดับสูงมาก ได้แก่ IK Model ซึ่งผู้เรียนมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับดี โดยทุก Model ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านความในระดับดีขึ้นไป ส่วนคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างดีไปจนถึงระดับดี 3) รูปแบบการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านทักษะทางปัญญาอยู่ในระดับสูงมาก ได้แก่ IK Model และ 5B Model ซึ่งผู้เรียนมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยทุก Model ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านทักษะทางปัญญาอยู่ในระดับสูงขึ้นไป ส่วนคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับดีไปจนถึงระดับดีมาก 4) รูปแบบการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบอยู่ในระดับสูงมาก ได้แก่ SUI Model และ 5B Model ซึ่งผู้เรียนมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับดี และ 5) รูปแบบการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีอยู่ในระดับสูงมาก ได้แก่ 5K Model ซึ่งผู้เรียนมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก และ SUI Model ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการอยู่ในระดับสูง ซึ่งผู้เรียนมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างดี 2. ผลการศึกษาพัฒนาการของผลการเรียนรู้ตามกรอบ TQF โดยใช้รูปแบบการสอนในกลุ่มวิชาที่เน้นการปฏิบัติ พบว่า 1) รูปแบบการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านคุณธรรม จริยธรรมอยู่ในระดับสูงมาก ได้แก่ SIC Model ซึ่งผู้เรียนมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก 2) รูปแบบการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านความรู้อยู่ในระดับสูงมาก ได้แก่ SIC Model ซึ่งผู้เรียนมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก และ KDA Model ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการอยู่ในระดับดี แต่คะแนนโดยรวมยังอยู่ในระดับแค่พอใช้ 3) รูปแบบการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านทักษะทางปัญญาอยู่ในระดับสูงมาก ได้แก่ SIC Model และ PC Model ซึ่งผู้เรียนมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับดีมากและระดับดี ตามลำดับ โดยทุก Model ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านทักษะทางปัญญาอยู่ในระดับสูงขึ้นไป ซึ่งคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับดีไปจนถึงระดับดีมาก 4) รูปแบบการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบอยู่ในระดับสูงมาก ได้แก่ SIC Model และ KDA Model ซึ่งผู้เรียนมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับดีมากและระดับดี ตามลำดับ และ5) ทุกรูปแบบการสอนทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีอยู่ในระดับสูงมาก โดยเฉพาะ SIC Model และ PC Model ที่ทำให้ผู้เรียนมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก 3. ผลการศึกษาขนาดของผลที่เกิดจากรูปแบบการสอนในกลุ่มวิชาที่เน้นการบรรยาย สำหรับการยกระดับผลการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เป็นไปตามกรอบ TQF พบว่า 1) รูปแบบการสอนที่สามารถยกระดับผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรมได้เป็นอย่างดี คือ IK Model โดยมีขนาดของผลอยู่ในระดับใหญ่มาก 2) ทุกรูปแบบการสอนสามารถยกระดับผลการเรียนรู้ด้านความรู้ได้เป็นอย่างดี โดยมีขนาดของผลอยู่ในระดับใหญ่มาก 3) ทุกรูปแบบการสอนสามารถยกระดับผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาได้เป็นอย่างดี โดยมีขนาดของผลอยู่ในระดับใหญ่มาก 4) ทุกรูปแบบการสอนสามารถยกระดับผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบได้เป็นอย่างดี โดยมีขนาดของผลอยู่ในระดับใหญ่มาก และ 5) รูปแบบการสอนที่สามารถยกระดับผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีได้เป็นอย่างดี คือ SUI Model โดยมีขนาดของผลอยู่ในระดับใหญ่มาก และ 5K Model โดยมีขนาดของผลอยู่ในระดับมาก 4. การศึกษาขนาดของผลที่เกิดจากรูปแบบการสอนในกลุ่มวิชาที่เน้นการปฏิบัติ สำหรับการยกระดับผลการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เป็นไปตามกรอบ TQF พบว่า 1) รูปแบบการสอนที่สามารถยกระดับผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรมได้เป็นอย่างดี คือ SIC Model โดยมีขนาดของผลอยู่ในระดับใหญ่มาก 2) รูปแบบการสอนส่วนใหญ่สามารถยกระดับผลการเรียนรู้ด้านความรู้ได้เป็นอย่างดี โดยมีขนาดของผลอยู่ในระดับใหญ่มาก ยกเว้น PPP+P อยู่ในระดับปานกลาง 3) ทุกรูปแบบการสอนสามารถยกระดับผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาได้เป็นอย่างดี โดยมีขนาดของผลอยู่ในระดับใหญ่มาก 4) รูปแบบการสอนที่สามารถยกระดับผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบได้เป็นอย่างดี คือ KDA Model และ SIC Model โดยมีขนาดของผลอยู่ในระดับใหญ่มาก และ 5) ทุกรูปแบบการสอนสามารถยกระดับผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีได้เป็นอย่างดี โดยมีขนาดของผลอยู่ในระดับใหญ่มาก 5. ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนในกลุ่มวิชาบรรยาย พบว่า ในภาพรวมของทุกโมเดลผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยรูปแบบการสอนที่ผู้เรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ 5K Model รองลงมา คือ 5B Model และ SUI Model โดยมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจเท่ากับ 4.40, 4.34 และ 4.11 ตามลำดับ ส่วนกลุ่มวิชาปฏิบัติ พบว่า ในภาพรวมของทุกโมเดลผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยรูปแบบการสอนที่ผู้เรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ KDA Model รองลงมา คือ SIC Model และ PC Model โดยมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจเท่ากับ 4.93, 4.00 และ 3.98 ตามลำดับ
Article Details
References
เดชดนัย จุ้ยชุม. (2559). “การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทักษะการคิดของนักศึกษาในรายวิชาทักษะการคิด (Thinking Skills) รหัสวิชา 11-024-112 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning),” วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 3,2 (2016): 24-27.
นภาพรรณ เอี่ยมสำอางค์. (2551). ผลการจัดการเรียนการสอนตามโมเดลการสอน BSCS 5 E. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์อุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Fosnot, C.T.(Ed). (1992). Constructivism: Theory Perspectives and Practice. New York: Teacher College Press.
Gredler. M.E. (2009). Learning and nstruction: Theory into practice. (3rd ed.). Newjersey: Prentice-Hall.
Johnson, D.W. and R.T.Johnson. (1990). Learning Together and Alone. New Jersey: Prentice-Hall.
Jonassen, D.H. (1992). Evaluating constructivist learning. In T.M.Duffy Constructivism and the technology of instruction. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associaties Publishers.
Vygotsky. L.S.(1978). Mind in Society: The Development of Higher psychological Processes. Cambridge, MA: Harvard University Press.