การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโรงเรียนอนุบาลสองภาษา ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสภาพทั่วไปของธุรกิจโรงเรียนอนุบาลสองภาษา ในเขตจังหวัดชลบุรี 2) ศึกษารูปแบบที่เหมาะสมของโรงเรียนอนุบาลสองภาษาที่จะลงทุน ในอำเภอศรีราชา 3) วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางด้านการเงิน และทดสอบความสามารถในการรับความเปลี่ยนแปลงของโครงการลงทุน การศึกษาใช้ข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึก และข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากเอกสารวิชาการต่าง ๆ รวมถึงการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต ผลการศึกษาพบว่า มีโรงเรียนอนุบาลสองภาษา 4 โรงเรียน และโรงเรียนนานาชาติระดับอนุบาลอีก 4 โรงเรียนในจังหวัดชลบุรี มีผู้เข้าเรียนรวมเพียงร้อยละ 60.44 ของนักเรียนประถมศึกษาภาคภาษาอังกฤษ โครงการลงทุนใช้พื้นที่ 2 ไร่ มีอาคาร 2 ชั้น จำนวน 2 อาคาร คือ อาคารบริการและอาคารเรียน ผลการศึกษาด้านการเงิน ที่อายุโครงการ 20 ปี และต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักร้อยละ 9.77 พบว่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 9,402,114 บาท อัตราผลตอบแทนภายในเท่ากับร้อยละ 11.89 อัตราผลตอบแทนภายในที่มีการปรับค่าแล้วเท่ากับร้อยละ 10.64 ดัชนีความสามารถในการทำกำไรเท่ากับ 1.17 และเมื่อทดสอบค่าความแปรเปลี่ยนพบว่า ผลตอบแทนลดลงได้มากที่สุดร้อยละ 6.67 ต้นทุนในการดำเนินงาน ต้นทุนในการลงทุนและต้นทุนรวมเพิ่มขึ้นได้ร้อยละ 12.50, 16.68 และ 7.14 ตามลำดับ สรุปได้ว่าเป็นโครงการที่มีความคุ้มค่าในการลงทุนและมีความเสี่ยงต่ำ
Article Details
References
กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2559). โรงงานอุตสาหกรรมที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนในภาคตะวันออก ตั้งแต่ปี 2556 – 2558. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2559, จาก https://www.diw.go.th/hawk/default.php
ประสิทธิ์ ตงยิ่งศิริ. (2545). การวางแผนและการวิเคราะห์โครงการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ประเวศ วะสี. (2557). อภิวัฒน์การเรียนรู้...สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.).
รักลูกกรุ๊ป. (2559). โอกาสทองของการเรียนรู้ หน้าต่างแห่งโอกาส (Windows of Opportunity). สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2559, จาก https://momypedia.com/pages/preview/wiki_print.php?id=88
สำนักงานสถิติจังหวัดชลบุรี. (2558). รายงานสถิติจังหวัด พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2559,จาก https://chonburi.nso.go.th/index.php?
option=com_content&view=article&id=227:0158&catid=102&Itemid=507
สำนกงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). การพัฒนากรอบคุณวุฒิแห่งชาติ สู่กรอบประชาคมอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2559, จาก https://www.onec.go.th/index.php/book/BookView/1389
หฤทัย มีนะพันธ์. (2550). หลักการวิเคราะห์โครงการ : ทฤษฎีและวิธีปฏิบัติเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ. กรุงเทพฯ: แทกซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น.
Annie, Koh,et al. (2014). Financial Management Theory and Practice. An Asia edition.
Singapore
References
Chonburi Provincial Statistical Office. (2015). Provincial Statistical Report : 2015. Retrieved 11 February 2016, from https://chonburi.nso.go.th/index.php? option=com_content&view=article&id=227:0158&catid=102&Itemid=507
Department of Industrial Works. (2016). Industrial factories that apply for promotion in Eastern Region from 2013 to 2015. Retrieved 5 January 2016, from https://www.diw.go.th/hawk/default.php
Department of Tourism. (2016). Statistics of domestic tourists in 2015 (Classified by region and province). Retrieved 10 November 2016, from https://tourism2.tourism.go.th/home/details/11/221/25767
Meenapan H. Principle of Project Analysis : Theory and Practice for Feasibility Studies. Bangkok: Text and Journal Publication.
Office of the Education Council. (2015). National Qualification Framework Development to ASEAN Community. Retrieved 17 January 2016, from https://www.onec.go.th/index.php/book/BookView/1389
Raklukegroup. (2016). Windows of Opportunity. Retrieved 5 January 2016, from https://momypedia.com/pages/preview/wiki_print.php?id=88
Thonyingsiri P. (2002). Planning and Analysis. Bangkok: SE-EDucation.
Vasri P. (2014). Partnership in Creating a Learning Society for All. Bangkok: Thai Health Promotion Foundation.