“พระโฉมยงองค์ยุขัน” บทละครนอกเรื่องยุขัน : สันนิษฐานเรื่องสมัยการแต่งตอนรักของยุขันกับนางประวะลิ่ม

Main Article Content

ชนัญชิดา บุญเหาะ

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทละครนอกเรื่องยุขันฉบับกรมศิลปากรที่กล่าวถึงเรื่องราวในส่วนท้ายคือ เรื่องรักของยุขัน เป็นต้นมา ผลการศึกษาพบว่า บทละครเรื่องยุขันน่าจะแต่งเสร็จสมบูรณ์ภายหลังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกอย่างแน่ชัดด้วยเหตุผลหลายประการ ทั้งในด้านอักขรวิธี ลักษณะการแต่งตามบทละครนอกแบบหลวง การมีเนื้อหาที่น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากเรื่องอิเหนา บทพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทั้งยังมีการใช้เครื่องแต่งกายแบบใหม่ที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในรัชสมัยเดียวกัน ทั้งนี้ หากพิจารณาตามหลักฐานการอ้างถึงและการหยิบยืมแนวคิดจากวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ ก็อาจสันนิษฐานต่อไปได้ว่า บทละครเรื่องดังกล่าวอาจแต่งขึ้นในระหว่างรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว แม้พระมหากษัตริย์โปรดฯให้เลิกละครหลวง แต่กลับเป็นช่วงเวลาที่การละครเฟื่องฟูมาก จนภายหลังมีการเปิดกว้างด้านวัฒนธรรมการบันเทิงในหมู่ราษฎรอย่างเสรี เป็นไปได้ว่ากลุ่มขุนนางที่เคยทำงานถวายพระมหากษัตริย์ทางการละครได้ออกมาก่อตั้งคณะละครของตนเองขึ้นเพื่อเล่นละครในแบบราษฎร์แต่ก็ยังยึดถือขนบการพรรณนาบางประการจากแบบหลวงที่เคยได้รับการปลูกฝังมา


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุสุมา รักษมณี. (2530). 200 ปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : คณะโบราณคดี
มหาวิทยาลัยศิลปากร
จีริกัญญา พรมต๊ะ. (2550). บทละครนอกเรื่องยุขัน. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จตุพร มีสกุล. (2540). การศึกษาเชิงวิเคราะห์บทละครนอกพระราชนิพนธ์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2507). ตำนานละครอิเหนา. พิมพ์ครั้งที่ 3.
พระนคร: คลังวิทยา.
ธานีรัตน์ จัตุทะศรี. (2552). พระราชนิพนธ์อิเหนาในรัชกาลที่ 2: การสร้างนิทานปันหยีให้เป็นยอดแห่ง
วรรณคดีบทละครใน. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นิยะดา เหล่าสุนทร. (2535). พินิจวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: แม่คำผาง
ประเสริฐ ณ นคร. (2541). สารนิพนธ์ประเสริฐ ณ นคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ. (2546). บทละครเรื่องอิเหนา. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
วิภาวรรณ อยู่เย็น. (2551). “ที่มาของไม้ตรีและไม้จัตวาในภาษาไทย”. วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย.
2, 4: 90-107.
ศิลปากร, กรม. (2508). บัญชีสังเขปวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ เล่ม 1. กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ
__________. (2548). บทละครนอกเรื่องยุขัน. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.
เสาวณิต วิงวอน. (2555). วรรณคดีการแสดง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวรรณคดีและคณะกรรมการฝ่ายวิจัย
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อิงอร สุพันธุ์วณิช. (2527). วิวัฒนาการอักษรและอักขรวิธีไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.