กระบวนการถ่ายทอดวิชาหมอลำของหมอลำบัวผัน ดาวคะนอง

Main Article Content

อนุสรณ์ อนันตภูมิ
เจริญชัย ชนไพโรจน์
สุภณ สมจิตศรีปัญญา

บทคัดย่อ

ศลิปะการแสดงหมอลำ แสดงถึงอัตลักษณ์ประจำชนชาวอสีาน เป็นสิ่งแสดงถึงศิลป วัฒนธรรมขนบธรรมเนียม ประเพณีถือปฏิบัติ ตลอดจนวิถีชีวิต และหมอลำบัวผัน ดาวคะนอง ถือเป็นผู้ที่มีความเป็นหนึ่งในด้านหมอลำ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษา ประวัติของหมอลำบัวผัน ดาวคะนอง 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบศิลปะการแสดงหมอลำกลอน ของหมอลำบัวผันดาวคะนอง 3) กระบวนการถ่ายทอดวชิาหมอลำของหมอลำบัวผันดาวคะนอง รวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานสนามช่วงเดือนพฤศจิกายน 2555 ถึง เดือนตุลาคม 2556 ใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสังเกตุ ผลการวิจัยพบว่าจุดมุ่งหมายข้อ 1ประวัติของของหมอลำ บัวผัน ดาวคะนอง เริ่มต้นจากหมอลำบัวผัน ดาวคะนองเป็นเพียงเด็กสาวชาวบ้านธรรมดา ท่ีครอบครัวมีอาชีพทำไร่ไถนา หมอลำบัวผัน ดาวคะนองช่วยเหลือครอบครัวด้วยการ ตักน้ำ ทำไร่ ทำนา เลี้ยงควายการมาเป็นหมอลำของหมอลำบัวผัน ดาวคะนอง ได้รับแรงบันดาลใจ จากการได้ฟังกลอนลำของเพื่อนที่กำลังฝึกท่องกลอนลำ จากนั้นหมอลำบัวผัน ดาวคะนอง ได้ไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์และเรียนลำกับอาจารย์จันทร์หอม อามาตย์บัณฑิต จนสำเร็จ ออกรบังานแสดงและมชีอื่เสยีง มีผู้มาขอเป็นลูกศิษย์เพื่อเรียนลำจุดมุ่งหมายข้อ 2 องคป์ระกอบ ศิลปะการแสดงหมอลำกลอนของหมอลำบัวผันดาว คะนอง องค์ประกอบด้วยกลอนลำ ผู้แต่ง กลอนลำ ท่าทางในการแสดง ความสามารถในการสื่อารมณ์ ผู้แสดง มีเสียงดี หมอแคน เป็นผู้มีความชำนาญในการเป่าท่วงทำนองลำจังหวะต่าง ๆ ลำดับในการแสดง ประกอบด้วย ไหว้ครู ประกาศศรัทธา ถามข่าวบ้าน ปรึกษาการลำ ลำาลา จุดมุ่งหมายข้อ 3 กระบวนการ ถ่ายทอดวิชาหมอลำของหมอลำบัวผัน ดาวคะนอง เร่ิมโดย กระบวนการรับลูกศิษย์และ ทดสอบความสามารถเบ้ืองต้น กระบวนการท่องจำกลอน กระบวนการฝึกเอื้อนเสียงโอละนอ กระบวนการฝึกท่วงทำนอง กระบวนการฝึกท่าทางลีลา การยกอ้อยอครู กระบวนการฝึกแก้ ปัญหาเฉพาะหน้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พรชัย เขียวสาคู. ล�าเพลินบ้านแพง ต�าบลแพง อ�าเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม.
ปริญญานิพนธ์ ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา (เน้นสังคมศาสตร์)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม, 2536.

Denzin, N.K. The research act : A theoretical introduction to sociological
methods. Chicago: Aldine Publishing Company, 1970.

Guthrie, E. R., Association by contiguity. In Sigmund Koch (Ed.), Psychology:
A study of a science. New York: McGraw-Hill(2), 1959.

Baruque, L. B., & Melo, R. N.. “Learning theory and instructionaldesign using
learning objects”. Journal of Educational Multimedia and Hypermedia, 13,
4 (2004): 343-370..

Venkataraman, Kalpakam. Rasa in Indian Aesthetics : Interface of Literature
and Sculture. Doctor’ Thesis. Urbana University of Illinois Urbana-campaign,
2003