วิถีชีวิตคนเลี้ยงไก่ชนและการถ่ายทอดภูมิปัญญาการเลี้ยงไก่ชน บ้านดงแสนสุข หมู่ที่ 15 ต�ำบลไร่น้อย อ�ำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิถีชีวิตคนเลี้ยงไก่ชนและการถ่ายทอดภูมิปัญญาการเลี้ยงไก่ชน บ้านดงแสนสุข
หมู่ที่ 15 ต�ำบลไร่น้อย อ�ำเภอเมืองอุบลราชธานีจังหวัดอุบลราชธานีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
วิถีชีวิตของคนเลี้ยงไก่ชนและศึกษาการถ่ายทอดภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยง
ไก่ชนบ้านดงแสนสุข โดยการเก็บข้อมูลด้วยวิธีสัมภาษณ์ด้วยวิธีการ สังเกต และสนทนา
กลุ่มย่อย ผลการศึกษาวิจัยพบว่า วิถีการด�ำเนินชีวิตของคนในหมู่บ้าน ดงแสนสุขเริ่มต้นจาก
ปราชญ์ชาวบ้านคือตาทวด ของนายบุญมาสายเบาะ และได้สืบทอดความรู้
โดยใช้เวลาว่างจากการท�ำนาถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกหลาน การก่อเกิดภูมิปัญญาการเลี้ยง
ไก่ชนซึ่งเกิดจากวิถีชีวิตของชาวอีสานที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และเลี้ยงสัตว์ควบคู่ไปพร้อม
จนเกิดทักษะและความช�ำนาญเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม ่ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่มีการเชื่อมโยง
กันไปหมดท�ำให้ชาวบ้านสนใจที่จะประกอบเลี้ยงไก่ชนเพื่อเป็นอาชีพเสริม ท�ำให้ชาวบ้าน
ดงแสนสุข ไม่อพยพไปขายแรงงานในต่างจังหวัด อีกทั้งยังเป็นสิ่งท�ำให้ชาวบ้านดงแสนสุข
เกิดความภาคภูมิใจพฤติกรรมการเรียนรู้ในการเลี้ยงไก่ชน เกิดจากการชอบและอยากที่จะรู้
วิธีการในการเลี้ยงไก ่ชนตามภูมิปัญญาของบรรพบุรุษเพื่อเพาะพันธุ์ขาย มีรายได้เข้ามา
ในครอบครัวจนสามารถสร้างชีวิตความเป็นอยู ่ให้ดีขึ้นเรียนรู้ภูมิปัญญาจากรุ ่นต ่อรุ ่น
โดยมีตาทวดและลูกหลานที่สืบทอดเป็นต้นแบบการถ ่ายทอดภูมิปัญญาในการเลี้ยงไก ่ชน
และวิถีชีวิตของคนและไก ่ชนมีความผูกพันกันโดยเลี้ยงไก ่เสมือนเป็นสัตว์เลี้ยงทั่วไป
การศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาโดยเป็นการซึมซับจากการที่ได้ลงมือปฏิบัติจริงเรียนรู้ใช้เวลา
ในการเรียนรู้ฝึกฝนประสบการณ์พอสมควรจึงสามารถแยกตัวมาประกอบอาชีพเพาะพันธุ์
ไก ่ขายและเลี้ยงไก ่ชนด้วยตัวเองการถ ่ายทอดภูมิปัญญาของชาวบ้านดงแสนสุข ซึ่งแบ ่ง
เป็น 2 ลักษณะ (1) วิธีการถ่ายทอดภูมิปัญญาแก่เยาวชนจะสอนลูกหลานทั้งชายและหญิง
จากสิ่งที่ง ่าย ๆ ก่อน โดยการให้สัมผัสในช ่วงปิดเทอมเพื่อซึมซับวัฒนธรรมของท้องถิ่นเรียนรู้รากเหง้าของตนเองเมื่อมีความช�ำนาญแล้วก็จะปล่อยให้ดูแลจัดการกันเอง โดยไม่ต้องมี
ผู้ใหญ่คอยแนะน�ำ (2) วิธีการถ่ายทอดภูมิปัญญาแก่ผู้ใหญ่ จะใช้วิธีการเรียนรู้ผ่านการบอกเล่า
จากผู้มีประสบการณ์ตรง เช่นในแต่ละวันจะต้องดูแลไก่ชนอย่างไรบ้าง พร้อมกับสอนให้ชาว
บ้านเรียนรู้สรรพคุณของสมุนไพรในการรักษาไก่ชนที่ป่วยหรือบาดเจ็บจากการเข้าสังเวียน หรือ
การเตรียมความพร้อมที่จะน�ำไก่ไปชนด้วย ท�ำให้แทบจะทุกหลังคาเรือนเริ่มมีอาชีพเสริมหลัง
จากการท�ำนาคือ การเลี้ยงไก่ชน
Article Details
References
ศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).
จารุวรรณธรรมวัตร. (2535).วิเคราะห์ภูมิปัญญาอีสาน. มหาสารคาม: โรงพิมพ์ศิริธรรมออฟเซ็ท.
ประเวศ วสี. (2530). การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยเพื่อการพัฒนา. วารสารชุมชนพัฒนา. 1(5)
: 75.
เสรี พงศ์พิศ. (2536). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชนบท (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อัม
รินทร์พริ้นติ้ง.
ประโยชน์และความส�ำคัญของการเลี้ยงสัตว์. (2558).ค้นเมื่อ25พฤษภาคม 2558,จากhttps://
www.itrmu.net/ web/tuktik/showwebcontent.php?(cat_id=29&mid=86
Jirini Sinuthok. (2000). Ways of Life and Local Wisdom of Longkong Farmer.
(Master’ Thesis, Program in Social Development, National Institute of
Development Administration).
JaruwanThummawut. (1992).Esan Wisdom Analysis. Mahasarakham: Siritham
Offset Printing.
Prawet Wasri. (1987). Thai Wisdom Creation for Development. Journal of
Community Development. 1(5), 75.
SereePongpit. (1993).Local Wisdom and Countryside Development. (2ndEdition).
Bangkok: Amarin Printing.
TheBenefitand Importanceof Animal. (2015).Retried May,252015,Fromhttps://
www.itrmu.net/web/tuktik/showwebcontent.php?(cat_id=29&mid=86