คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ตามทัศนคติของแหล่งฝึกประสบการณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้สำรวจคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
ตามทัศนคติของแหล่งฝึกประสบการณ์ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ทั้งเพศชายและหญิง จำนวน 190 คน มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ 1) เพื่อสำรวจคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ตามทัศนคติของแหล่งฝึกประสบการณ์ 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่พึงประสงค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics)
ผลการสำรวจพบว่า สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามและประเมินมาจากสถานฝึกประสบการ
ประเภทสถานศึกษามากที่สุด ร้อยละ 60.15 รองลงมา คือ สถานฝึกประสบการณ์ประเภทองค์กรและหน่วยงาน ร้อยละ 28.42 และอันดับสุดท้าย คือ สถานฝึกประสบการณ์ประเภทโรงแรมและรีสอร์ท ร้อยละ 11.05 การประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาสำรวจจาก 1) เกณฑ์มาตรฐานของคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 5 ด้าน พบว่า สถานฝึกประสบการณ์ประเภทสถานศึกษา มีระดับความเห็นในด้านคุณธรรมจริยธรรมมากที่สุด ร้อยละ 4.89 คือ นักศึกษามีความตรงต่อเวลาในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 7.93) ส่วนสถานฝึกประสบการณ์ประเภทโรงแรมและรีสอร์ท มีระดับความคิดเห็นด้านความรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 4.63 คือ นักศึกษามีความรู้ด้านเทคโนโลยีสามารถประยุกต์ใช้กับภาษาอังกฤษ(x̄ = 4.71) ประเภทองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ มีระดับความคิดเห็นด้านความรู้มากที่สุด ร้อยละ 4.83 คือ นักศึกษามีปรัชญาแนวคิด และหลักในการปฏิบัติงาน รวมถึงนักศึกษามีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสารภาษาอังกฤษและสนทนาโต้ตอบ (x̄ = 4.88) และ 2) ทักษะการจัดการเรียนรู้ทางภาษาอังกฤษ พบว่า ประเภทสถานศึกษามีระดับความคิดเห็นมากที่สุด ร้อยละ 4.49 รองลงมา คือ ประเภทองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ร้อยละ 4.22 อันดับสุดท้าย คือ โรงแรมและรีสอร์ท ร้อยละ 3.97
Article Details
References
ฉบับสุดท้าย โครงการศึกษาวิจัยพลวัตการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของโลกที่มีผลกระทบต่อวัฒนธรรมสังคมไทย. สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพฯ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ. 2552.กรุงเทพฯ.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2538). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมการวิจัยและการพัฒนาบุคคล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จำเนียร จวงตระกูล. (2542). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: ศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่น
แนล จำกัด.
นิตยา สำเร็จผล และคณะ. (2542 : บทคัดย่อ) วิจัยเรื่อง การศึกษาความพึงพอใจของนายจ้างต่อบัณฑิตวิทยาเขต
พระนครใต้.
ทัศนา แสวงศักดิ์. (2531). การศึกษาทำให้คนทำงานได้หรือไม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ คุรุสภา.
Cushing, B. (1994). Association for Management Education and Development. Great Britain: Kogan
Page Limited.
Merriam, S. (1998). Qualitative Research and Case Study Application in Education. California:
Jossey-Bass Inc.
Strauss, G & Sayles, L.R. (1960). Personal Human Problems of Management. New Jersey: Prentica-
Hall.
Wayne Monly, R., & Robert, M. (1981). The Management of Human Resources. New York: Mc
Graw-Hill.