แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนและความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนสะพานไม้แกดำ ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม Guidelines for Community Participation Development and Availability of Kae Dum Wooden Bridge, KaeDum District, Mahasarakham Province.

Main Article Content

linjong - pocharee

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนและความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนสะพานไม้แกดำ ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม งานวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการระดมความคิดคิดจากกลุ่มเฉพาะ (Focus Group) จำนวน 20 คน และวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งได้แก่แบบสอบถาม จำนวน 500 ชุด โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เริ่มต้นจากการค้นหาทรัพยากรที่มีในชุมชนด้วยการสัมภาษณ์ผู้ แล้วนำมาจัดทำเป็นบัญชีข้อมูลทรัพยากรท่องเที่ยวของชุมชน จากนั้น ระยะที่ 2 เป็นกระบวนการศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยใช้การศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วม นำไปสู่ ระยะที่ 3 เป็นการวัดความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนสะพานไม้แกดำ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว และ ระยะที่ 4 เป็นการเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนสะพานไม้แกดำ โดยใช้การระดมความคิดคิดจากกลุ่มเฉพาะ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดได้มาจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนสะพานไม้แกดำ


ผลการวิจัย พบว่า การมีส่วนร่วมของชุมชนโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับน้อย โดยระดับการมีส่วนร่วมรายด้านมากที่สุด คือ ด้านการริเริ่มการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว  ส่วนด้านการวางแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวมีค่าน้อยที่สุด   ซึ่งตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยของการมีส่วนร่วมสูงสุด 3 อันดับแรก คือ การปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติในชุมชน การจัดสถานที่กำจัด/ทิ้งขยะหรือบริการจัดเก็บขยะพอเพียง และ การขายสินค้าต่างๆ


ความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนสะพานไม้แกดำโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวและการบริหารจัดการแหลง และ ด้านการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ซึ่งตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยของความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยวสูงสุด 3 อันดับแรก ตามลำดับ คือ การเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่มีความพร้อมในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว การเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่มีความพร้อมสูง และ การเป็นแหล่งท่องเที่ยวมีธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์


ดังนั้นแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนและความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนสะพานไม้แกดำนั้น ควรมีการรวมกลุ่มเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยว ข้องทุกภาคส่วนในชุมชนเข้าใจและให้การยอมรับการส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนสะพานไม้แกดำ อีกทั้งต้องสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยวที่จัดขึ้น และทำควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติบริเวณรอบหนองน้ำแกดำ โดยอาศัยกระบวนการการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ใส่ใจการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม และคำนึงถึงการพัฒนาที่นำไปสู่การสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเฉพาะเรื่องของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชน เพื่อนำมาเป็นสินค้าของที่ระลึกหรือของฝาก เพื่อให้คนในชุมชนมีรายได้ และนำไปสู่การลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในชุมชนต่อไป


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

References
Bureau of Tourism Development. (2013). Standard of natural
attractions. Department of Tourism Ministry of Tourism and
Sports. Department of Tourism Ministry of Tourism and
Sports.
Chaithawat Siriborvornphitak. (2017). Potentiality and Tourism
Development Plan for Maha Sarakham Province. Research,
Hotel and Tourism Program, Faculty of Management, Maha
Sarakham Rajabhat University.
Chaisanun Sompanyathiwong and Ung-prai Vallaphachai. (2016). The
study of preparing for the cultural tourism of ethnic Mong in
Ban Toobkho Tambon Kok Sathon, Loei. Western University
Research Journal of Humanities and Social Science. 2(3), (10-24).
Cohen, J. M. and N. T. Uphoff. 1980. Rural Development Participation:
Concept and Measures Design Implementation and
Evaluation. Cornell: Rural Development Committee Center
for International Studies, Cornell University.
Comrey, A. L., & Lee, H. B. (1992). A First Course in Factor Analysis
(2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum.
Fongchan Luangchanduang, Surachai Worang and Waraporn Nanthasen.
(2018). Potential of the Model Community for Sustainable
Creative Tourism. Electronic Journal of Innovative Distance
Learning. 8(2), (52-83).
Jammaree Choosrichom, Poonyawee Srirat and Nipapron Saejen. (2015).
A Study of Potential Health Promotion Tourism: A Case Study
at Hot Springs Parks, Wanghin Sub-District, Bang khan District, Nakhon Si Thammarat Province, Thailand. Chulalongkorn journal. 35(3), (91-114).
Linjong Pocharee. (2002). Guidelines for Tourism Development, Maha
Sarakham Province. Research. Faculty of Tourism and
Hotel Management, Mahasarakrm university.
---------------. (2017). Tourism Management of the Community in Kae-
dum Wooden Bridge, Kae-dum Sub-district, Kae-dum District,
Mahasarakham Province. Research. Faculty of Tourism and
Hotel Management, Mahasarakrm university.
---------------. 2018. The Components of Community base Tourism
Affecting Tourism Geography Development at Sapan Mai
Kae-dum, Kae-dum Sub-district, Kae-dum District,
Mahasarakham Province. Research. Faculty of Tourism and
Hotel Management, Mahasarakrm university.
Nattagant Rungruang. (2016). The component of community base
tourism affecting tourism development at Angwangkae and
Pukongkam in Kutkhaopun district Ubonratchathani
province. (M.A. Thesis, Mahasarakham University).
NittiyaTongsanoer. (2018). The readiness of people in community
development as a new attraction. Hatyai National and
International Conference. 9(20-21 July), Hat Yai University.
Office of Tourism and Sports, Maha Sarakham Province. (2018). Views
report Developing tourism potential in Maha Sarakham Province. Maha Sarakham : Office of Tourism and Sports, Maha Sarakham.
Piyathida Hongsri. (2017). Creating A Guideline for Studying the
Potential Development of a Walking Street in Khemmarat
District Ubonratchathani Province. (M.A. Thesis,
Mahasarakham University).
Pornchita Channarong and other. (2018). Community Participation in
Tourism Management of Bang Pu, Yaring District, Pattani
Province. Humanities and Social Sciences Academic
Conference Faculty of Humanities and Social Sciences,
Songkhla Rajabhat University. 1(2018), (263-267).
Ranee Issichaikul. (2002). Business Management in Tourist Sites.
Nonthaburi : Sukhothai Thammathirat Open University.
Thanyasiri Rawiwan. (2014). Community Participation and Assessment
the Tourist Attraction, Phu Hin Lad Cho Fah,
Nongbualamphu Province. (M.A. Thesis, Mahasarakham
University).