อิทธิพลของปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนที่มีต่อความผูกพันในองค์กรธุรกิจโรงแรม

Main Article Content

ัyaowapha NEEYAKORN

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน กับความผูกพันของพนักงานในองค์กรธุรกิจโรงแรม และ 2) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนที่มีต่อความผูกพันในองค์กรธุรกิจโรงแรม กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานโรงแรมของโรงแรมไทยเชน ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 300 คน สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า พนักงานโรงแรม มีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนต่อความผูกพันของพนักงานในองค์กรธุรกิจโรงแรม โดยรวมอยู่ในระดับมากทั้ง 2 ปัจจัย โดยพนักงานโรงแรม มีระดับความผูกพันในองค์กรธุรกิจโรงแรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้าน ได้แก่ ด้านการให้บริการ  และอยู่ในระดับมาก 1 ด้าน ได้แก่  ด้านประสิทธิภาพการทำงาน ตามลำดับ ซึ่งปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนมีความสัมพันธ์กับความผูกพันของพนักงานในองค์กรธุรกิจโรงแรม โดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ในเชิงบวก ในระดับปานกลาง


นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนสามารถร่วมกันพยากรณ์ความผูกพันในองค์กรธุรกิจโรงแรม ได้ร้อยละ 47.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่  ปัจจัยจูงใจด้านความรับผิดชอบในงาน ปัจจัยจูงใจด้านการได้รับการเลื่อนตำแหน่ง ปัจจัยค้ำจุนด้านค่าตอบแทนและผลประโยชน์ ปัจจัยค้ำจุนด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพในการทำงาน และปัจจัยค้ำจุนด้านสถานภาพ (สถานะของอาชีพ)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม. (ออนไลน์). 2555. (อ้างเมื่อ 2 มกราคม 2559). จากhttp://www.ihotelguru.com/index.php?
กัณณ์ วีระกรพานิช (2554). การคาดหวังและแรงจูงใจของพนักงานที่มีผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์การ: กรณีศึกษาพนักงานของบริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
เฉลิม สุขเจริญ. (2557). แรงจูงใจในการทำงานกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากร
องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก.
ธนาคาร ขันธพัด. (2558). ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน เเละคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้ปฏิบัติงานในองค์กร กรณีศึกษา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : จามจุรีโปรดักท์.
ประกิจ ชินอมรพงษ์, โรงแรมเชนไทยสู้ศึกเชนนอกก่อนสูญพันธ์. (2553). (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 30 ตุลาคม 2558).จาก http://www2.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9530000085240
ปกรณ์ ลิ้มโยธิน. (2555). ความตั้งใจจะลาออกจากงานของพนักงานโรงแรม. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการด้านการ บริหารจัดการ.ครั้งที่4. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ปราโมทย์ ทองวัฒน์, วิรงรอง บุญจรัส และวีรยา ชัยยศ. (2551). ทัศนคติของพนักงานฝ่ายปฏิบัติการธนาคารกับความผูกพันและความจงรักภักดีต่อองค์กรของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ศึกษาเฉพาะกรณี สาขาในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปีเตอร์ เฮนลีย์. ออนิกซ์ฯ” ปรับแผน 10 ปี โชว์ผลงาน 6 ปีกำไรพุ่ง 85%. (2557). (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 30 ตุลาคม 2558) จากhttp://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000124520
พรทิพย์ เกิดขำ. (2557). ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในองค์กร กรณีศึกษา ธนาคารกรุงเทพ จำกัด มหาชน เขตปทุมธานี-บางบัวทอง. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พวงเพ็ญ ชูรินทร์. ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองคก์าร ความเครียด และความพึงพอใจ ในงานที่มีผลต่อความคงอยู่ของพนักงานโรงแรมในเขตภาคใต้ตอนบนภายใต้สถานการณ์ของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ. วารสารวิชาการอิเลคทรอนิกส์ท่องเที่ยวไทย นานาชาติ, 3 (มิถุนายน 2552):1-15.
ภัทรนันท์ ศิริไทย. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยชุมชนสระแก้ว. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
รสสุคนธ์ ฤาชาเกียรติกุล (2550). ความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการธนาคาร HSBC ประเทศไทย ที่มีผลต่อความจงรักภักดีในองค์การ. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร. (2551). กลยุทธ์ HR ที่จับต้องได้. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
ศูนย์วิจัยการท่องเที่ยว. (2560). (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 1 มีนาคม 2560). จากhttp://tatic.tourismthailand.org.
เอกพล บุญญะฤทธิ์ (2551). ปัจจัยทางทัศนคติที่มีผลต่อความจงรักภักดีของพนักงานระดับปฏิบัติการ กรณีศึกษา: การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่ เพลินจิต. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Hackman, R. E. & Suttle, L. J. (1977). Improving Life at Work: Behavioral Science Approach to Organizational Change. Santa Monica, California: Goodyear Publishing.
GLOBAL HOTEL RANKING. (2015) (Online) (Cited November 15, 2016). Available from: http://hospitality-on.com.
Kandasamy, I. & Ancheri,S. (2009). Hotel employees’ expectations of QWL: A qualitative study. International. Journal of Hospitality Management, 28: 328-337.
Layer, J. K., Waldema, K. and Allen,F. (2009). The effect of cognitive demands and perceived quality of work life on human performance in manufacturing environments. International Journal of Industrial Ergonomics, 39: 413–421

Slattery, J.P. (2005). Antecedents to Temporary Employee’s Turnover Intentions. Annual Meetingin Midwest Academy of Management. Northeastern State University