เส้นทางการท่องเที่ยวชาติพันธุ์ ณ ชุมชนกะเหรี่ยงคอยาว จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

Unchun Tuntates

บทคัดย่อ

งานวิจัยในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ในหัวข้อเรื่อง "เส้นทางการท่องเที่ยวชาติพันธุ์และการอนุรักษ์ภูมิทัศน์ชนบท: ชุมชนคะยัน (กะเหรี่ยงคอยาว) ในภาคเหนือของประเทศไทย โดยงานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ มีวัตถุประสงค์ที่มุ่งเน้นเกี่ยวกับวิถีชีวิตกะเหรี่ยงคอยาว และลักษณะเด่นทางภูมิทัศน์ ตลอดจนสถานการณ์ของการท่องเที่ยวชาติพันธุ์ในกรณศึกษาของชุมชนกะเหรี่ยงคอยาว จังหวัดแม่ฮ่องสอน ควบคู่ไปกับการวางแผนอนุรักษ์คุณค่าทางมรดกวัฒนธรรม เพื่อที่จะรักษาคุณค่าของภูมิทัศน์ชนบทผ่านการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธู์อย่างยั่งยืน


งานวิจัยในครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา โดยพื้นที่ศึกษาได้แก่ บ้านห้วยปูแกง บ้านห้วยเสือเฒ่า และบ้านในสอย มีเครื่องมือวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีส่วนร่วมกับการสังเกต กลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 35 คน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการจัดการท่องเที่ยวในชุมชน กะเหรี่ยงคอยาว หน่วยงานภาครัฐ และผู้มาเยือนชุมชน ซึ่งช่วงเวลาในการศึกษาวิจัยอยู่ในเดือน กรกฎาคม 2560 ถึง มกราคม 2561


ผลการศึกษาพบกว่า ภาพลักษณ์แรกที่คนนึกถึงกลุ่มคนกะเหรี่ยงคอยาว คือ ภาพผู้หญิงใส่ห่วงทองเหลืองที่คออาศัยอยู่บนเขาในจังหวัดทางภาคเหนือของประเทสไทย แต่อย่างไรก็ตามจุดเริ่มต้นของถิ่นฐานดั้งเดิมของกลุ่มกะเหรี่ยงคอยาวมาจากรัฐคะเรนนิ ในประเทศพม่า โดยในปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานที่ชัดเจนว่า กะเหรี่ยงคอยาวเข้ามาอยู่ในประเทศไทยในปีใด แต่กลุ่มรัฐบาลท้องถิ่นของจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นผู้ริเริ่มที่่นำกลุ่มกกะเหรี่ยงคอยาวที่อาศัยอยู่ตามศูนย์พักพิงผู้ลี้ภัยมาเป็นจุดดึงดูดใจเพื่อกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวภายในจังหวัดมากขึ้น ในแง่ของการท่องเที่ยว จุดดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอน และกลุ่มชุมชนกะเหรี่ยงคอยาวสามารถจำแนกได้ 3 ประเภทหลัก คือ 1) จุดเด่นทางทัศนียภาพทางธรรมชาติ 2) จุดดึงดูดใจทางวัฒนธรรม และ 3) เหตุการณ์พิเศษ ซึ่งในปัจจุบัน เส้นทางท่องเที่ยวชุมชนกะเหรี่ยงคอยาว สามารถจำแนกได้เป็น 2 เส้นทางที่สามารถเข้าถึงได้ คือ บ้านเสือเฒ่า  - เส้นทางความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ และ บ้านห้วยปูแกง - เส้นทางภูมิทัศน์ทางธรรมชาติของวิถีชีวิตกะเหรี่ยงคอยาว


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Brooker, P. (2003). A glossary of cultural theory, London: Arnold 254, 2003
Cohen, E. (2001): Thai Tourism. Hill Tribes, Islands and Open-Ended Prostitution. Bangkok: White Lotus.
Ismail, J. (2008). Ethnic Tourism and the Kayan Long-Neck Tribe in Mae Hong Son, Thailand. Masters thesis, Victoria University, Australia.
Kazuhiro Sunaga. (2010). Ecotourism as an Indigenous Movement: Strategic Self-
Representation of the Karen People in Northern Thailand. Encounters 1, 2010, pp. 55 - 63
McIntosh, A.J., & Johnson, H. (2005). Exploring the nature of the Maori experience in New Zealand: views from hosts and tourists. Tourism, 52(2), 117 – 129.
The Human Rights Council of Australia. (1997). The hill tribes of Northern Thailand:
Development in conflict with human right – report of a visit in September, 1996.
Wu, X. (2000). ‘Ethnic Tourism’ – A Helicopter from “Huge Graveyard” to Paradise?” Social Impact of ethnic tourism development on the minority communities in Guizhou Province, Southwest China’ Hmong Studies Journal, Winter, vol. 3. Retrived 29 December 2018 from http:/www.hmongstudies.com/HSJv3Wu.pdf
Yang, L. (2011). Ethnic tourism and cultural representation. Annals of Tourism Research, Vol.38, No.2, pp. 561 - 585