การบริหารทุนชุมชนแบบบูรณาการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนบ้านขาม ตำบลบ้านขาม อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

katesuda phokanit

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบททุนชุมชนของชุมชนบ้านขาม ตำบลบ้านขาม อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ และเพื่อศึกษาการบริหารจัดการทุนชุมชนแบบบูรณาการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของชุนชนบ้านขาม อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) ได้แก่คณะกรรมการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ จำนวน 15 คน และสมาชิกกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ จำนวน 15 คน โดยวิธี (Purposive Selective Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้แนวทางการสัมภาษณ์ (Interview guide) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้พรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยมี ดังนี้


  1. ทุนชุมชน (ทุ่นที่ไม่ใช่เงิน) ได้แก่ (1) ทุนมนุษย์ มีผู้นำชุมชนที่เข้าใจปัญหาชุมชนเป็นอย่างดีและแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องจากรุ่นสู่รุ่น (2) ทุนภูมิปัญญา คือ ระบบเครือญาติ และการให้ความเคารพนบนอบผู้อาวุโส (ปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้นำชุมชน) ที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการทุนของชุมชน (3) ทุนด้านทรัพยากรและธรรมชาติ ทรัพยากรดินยังสามารถปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย ข้าว และพืชอื่นๆ มีแหล่งน้ำที่สามารถใช้ได้ตลอดทั้งปี และ(4) ทุนที่เป็นที่ดิน เครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกิดจากนำผลกำไรที่ได้จากการบริหารจัดการจากทุนที่เป็นตัวเงิน ส่วนทุนชุมชน (ที่เป็นเงินตรา) ใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน ได้แก่ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุนหมู่บ้าน กองทุนชุมชน กองทุนแม่บ้าน ธนาคารข้าว กองทุนตำรวจอาสา กองทุนปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ กองทุนยา กองทุนประปา กองทุนพัฒนาหมู่บ้าน กองทุนสวัสดิการชุมชน ฌาปนกิจสงเคราะห์ และศูนย์สาธิตการตลาดและปั้มน้ำมัน

  2. การบริหารจัดการทุนชุมชนแบบบูรณาการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของชุนชนริเริ่มโดยพ่อประจวบ แต่งทรัพย์ ได้นำเงินจากกองทุนต่างๆ ที่มีในชุมชนมารวมกันเป็นกองทุนบูรณาการโดยให้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตและกองทุนหมู่บ้านเป็นหลักในการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากจะมีตัวแทนคณะกรรมการกลุ่มต่างๆ ที่ได้รับจากสมาชิกในมาทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเงินให้สมาชิกกู้ยืมไปลงทุนประกอบอาชีพตามความประสงค์ สิ่งสำคัญสมาชิกผู้ยื่นกู้และกรรมการผู้พิจารณาเงินกู้จะต้องยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ พอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน รอบรู้ รอบคอบ และยึดหลักคุณธรรม 5 ประการ ประกอบด้วย ความซื่อสัตย์ต่อกัน ความไว้วางใจต่อกัน ความเสียสละเพื่อส่วนรวม ความรับผิดชอบรวมกัน และมีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนบริหารจัดการในลักษณะกิจกรรมเครือข่าย คือ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ศูนย์สาธิตการตลาดและปั้มน้ำมัน โรงสีชุมชน ลานตากผลผลิตทางการเกษตร และนาแปลงใหญ่ ผลกำไรที่เกิดจากบริหารจัดการกิจกรรมเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนและกองทุนบูรณาการจะนำมาปันผลให้กับสมาชิกในสิ้นปี

     



Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ประชาการสูงอายุไทย : ปัจจุบันและอนาคต. เอกสารประมวล
สถิติด้านสังคม 1/2558 (พฤศจิกายน). กรุงเทพฯ : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงาน
ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมลควมมั่นคงของมนุษย์. 2557.
พริ้งขจร ธระเสนา. ทุนชุมชนที่สนับสนุนการจัดกองทุนสวัสดิการชุมชน: กรณีศึกษากองทุนสวัสดิการ ชุมชนเทศบาลตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง. วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2559.
สุวิมล พิริยธนาลัย และคณะ. โครงการพัฒนาทุนชุมชนสู่ทุนทางเศรษฐกิจของชุมชนประมงพื้นบ้าน ปัตตานี.
รายงานการวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. 2560.
สุภางค์ จันทวานิช. การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงการมหาวิทยาลัย. 2546.
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). แผนยุทธศาสตร์. (ออนไลน์) 2562 (อ้างเมื่อ 1 ตุลาคม 2562).
จาก http://web.codi.or.th/faq/20190503-161825/
บุษบา ทองอุปการ. แนวทางการใช้ทุนชุมชนเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในจังหวัดกาญจนบุรี.
บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2559.
ไมตรี อินเตรียะ. ทุนทางสังคม. 2560.