สาเหตุการออกกลางคันของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุการออกกลางคัน และหาแนวทางการแก้ไขปัญหาการออกกลางคันของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1-3 ได้มาโดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกน จำนวน 315 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่ม เลือกแบบเจาะจง กลุ่มนักศึกษาและกลุ่มอาจารย์ กลุ่มละ 18 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุการออกกลางคันของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยรวมภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง จากสาเหตุด้านส่วนตัวนักศึกษา ด้านสภาพครอบครัว ด้านสภาพแวดล้อม ด้านสถานศึกษา ด้านอาจารย์ผู้สอน และด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน ตามลำดับ ได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการออกกลางคัน (1) ด้านส่วนตัวนักศึกษาควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสนใจเรียนให้สมกับที่ครอบครัวตั้งความหวังไว้ และแบ่งเบาภาระทางครอบครัวด้วยการทำงานพิเศษนอกเวลาเรียน (2) ด้านมหาวิทยาลัยควรจัดระบบความช่วยเหลือกับนักศึกษาด้อยโอกาส จัดหาทุนสนับสนุน และควรกำหนดแนวทางแก้ไขการลงทะเบียนล่าช้าและค่าธรรมเนียมที่สูงเกินความสามารถในการชำระค่าปรับได้
Article Details
References
โกมล จันทวงษ์. (2558). ปัจจัยสาเหตุการออกกลางคันของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ศูนย์สระแก้ว. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 5 (1), 127-136.
จรัญ ยินยอม. (2552). การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกกลางคันของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
จารุณี มงคลแก้ว และคณะ. (2553). การศึกษาสาเหตุการออกกลางคันและการไม่สำเร็จการศึกษาตามแผนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ชาติชาย เกตุพรหม. (2558). การบริหารจัดการเพื่อลดปัญหาการออกกลางคันของนักเรียนนักศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด. หลักสูตรนักบริหารระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ รุ่นที่ 5 สถาบันพัฒนาครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
นวรัตน์ การะเกษ และ วรุณกัลยา คุณากรวิรุฬห์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการออกกลางคันของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ประจำปีการศึกษา 2557. กองนโยบายและแผน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
นันธิดา ชำนาญยา. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกกลางคันของนิสิตระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2554 มหาวิทยาลัยพะเยา. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. พะเยา : มหาวิทยาลัยพะเยา.
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547. ราชกิจานุเบกษา เล่มที่ 121 ตอนพิเศษ 23 ก ลงวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547.
ภูษณิศา สิริวรพร. (2557). สาเหตุการออกกลางคันและแนวทางการแก้ไขปัญหาการออกกลางคันของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของสถาบันการพลศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม : วิจัยและประเมินผล มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ลำปาง พันธ์เพชร. (2558). ข้อเสนอการแก้ไขปัญหาการออกกลางคันของนักเรียนระดับปวช.วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารจัด
การศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วีระเดช บัวประเสริฐยิ่ง และคณะ. (2555). มาตรการของเจ้าหน้าที่ตำรวจและมาตรการทางสังคมกับการแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียน/นักศึกษาต่างสถาบัน. กองวิจัยสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ. กรุงเทพฯ : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.
สมคิด รักษาทรัพย์ และคณะ. (2556). สาเหตุการออกกลางคันของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. สถิตินักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2561, จากhttp://regis.nsru.ac.th.
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. (2560). คู่มือนักศึกษา. นครสวรรค์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สมคิด รักษาทรัพย์ และคณะ. (2556). สาเหตุการออกกลางคันของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
สุคนธ์ นาเมืองรักษ์. (2556). แนวทางการลดการออกกลางคันของนักเรียนนักศึกษาวิทยาลัยสารพัดช่างกาฬสินธุ์. หลักสูตรพัฒนานักบริหารระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ รุ่นที่ 3 สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2550). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : บริษัทเฟื่องฟ้าพริ้นติ้ง จำกัด.
สุภาภรณ์ ปินะกาโน. (2552). การออกกลางคันของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองเขียว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ 3. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุภาภรณ์ พิมพะนิตย์. (2555). สาเหตุการออกกลางคันของนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อารี ผสานสินธุวงศ์. (2550). สาเหตุการออกกลางคันของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ชั้นปีที่ 1 ประจำปี การศึกษา 2549. คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.