แนวทางการพัฒนาบุคลากรที่ขาดแคลนในอุตสาหกรรมไมซ์

Main Article Content

ภูวดล งามมาก

บทคัดย่อ

อุตสาหกรรมการจัดประชุมและนิทรรศการ (MICE)เป็นอุตสาหกรรมที่มุ่งเติบโตตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 พร้อมพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ในภูมิภาค-เขตเศรษฐกิจพิเศษให้ธุรกิจไมซ์กลายเป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมโยง ส่งเสริม และบูรณาการให้เกิดการจัดประชุมและงานแสดงสินค้าอย่างต่อเนื่องจนกล่าวได้ว่าธุรกิจไมซ์ได้สร้างงาน สร้างเงิน และสร้างชาติ สามารถสร้างรายได้ให้แก่ประเทศซึ่งในแต่ละปีประเทศไทยมีนักเดินทางกลุ่มไมซ์ทั้งในและต่างประเทศรวมกว่า 27 ล้านคน สร้างรายได้จากการเดินทางรวมกว่า 150,000 ล้านบาท ส่งผลให้เกิดการต่อยอดในการพัฒนาประเทศทุกด้าน ทั้งด้านการค้า การลงทุน สร้างเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมไม่ต่ำกว่าปีละ 220,000 ล้านบาท และสร้างงานให้กับคนไทยกว่า 164,427 ตำแหน่งกระจายรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่นทุกภูมิภาคทั่วประเทศอย่างไรก็ตามปัญหาในการขาดแคลนของทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ ทักษะ และลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมไมซ์ก็ยังคงเกิดขึ้ดังนั้น ในการผลิตบุคลากรที่มีศักยภาพสอดคล้องกับอุตสาหกรรมไมซ์เป็นบุคลากรรุ่นใหม่ที่ได้ชื่อว่าเป็นคนไทย 4.0 ในการผลักดันประเทศไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางการประสานงานแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)ภายใต้แนวคิดการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน WIL (Work Integrated Learning) ในการเรียนของอุตสาหกรรมการจัดประชุมและนิทรรศการ เป็นอีกหนึ่งในการสร้างรายได้ให้แก่ประเทศอย่างต่อเนื่องเพื่อก้าวผ่านจากประเทศในระดับปานกลางไปสู่ประเทศในระดับสูงอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทรา มาศสุพงศ์. (2540). หลักนิทรรศการ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
จำเนียร จวงตระกูล. (2557). “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในประเทศเกาหลีใต้”. Journal of
Hrintelligence ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 หน้า 84-101.
ธารพรรษ สัตยารักษ์. (2548). Human Resources Management หลักการและมุมมองจากมืออาชีพ.
กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮ้า.