การสำรวจงานวิจัยด้านจีนศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในรอบทศวรรษ (พ.ศ. 2552– 2561)

Main Article Content

Chulaluck Chopngam

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหมวดหมู่ และวิเคราะห์สรุปองค์ความรู้จากผลวิจัยที่เกี่ยวกับจีนศึกษา โดยสืบค้นจากฐานข้อมูลออนไลน์ของบทความวิจัยและบทความทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร TCI สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในรอบทศวรรษ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2552–2561)


ผลการวิจัยพบว่า บทความวิจัยและบทความทางวิชาการด้านจีนศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร TCI สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในรอบทศวรรษ (พ.ศ. 2552–2561) มีจำนวน 329 บทความ โดยแบ่งออกเป็น 6 หมวด ได้แก่ 1) ด้านภาษาศาสตร์และภาษาศาสตร์ประยุกต์จีน 2) ด้านการสอนภาษาจีน 3) ด้านวรรณคดี/ศิลปวัฒนธรรมจีน 4) ด้านสังคม 5) ด้านการเมืองการปกครอง และ 6) ด้านเศรษฐกิจการค้าการลงทุน ส่วนองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล สะท้อนให้เห็นถึงสาระทางวิชาการที่หลากหลายตามหมวดประเภทของบทความวิจัยและบทความวิชาการด้านจีนศึกษา ได้แก่ 1) องค์ความรู้ด้านภาษาศาสตร์และภาษาศาสตร์ประยุกต์จีน ประเด็นที่พบมากที่สุดร้อยละ 41.26 คือ การศึกษาเปรียบเทียบด้านภาษาศาสตร์และภาษาศาสตร์ประยุกต์ 2) องค์ความรู้ด้านการสอนภาษาจีน ประเด็นที่พบมากที่สุดร้อยละ 36 คือ การพัฒนาการจัดการเรียนการสอน 3) องค์ความรู้ด้านวรรณคดี/ศิลปวัฒนธรรมจีน ประเด็นที่พบมากที่สุดร้อยละ 37.70 คือ วรรณกรรมจีน 4) องค์ความรู้ด้านสังคม ประเด็นที่พบมากที่สุดร้อยละ 36 คือ วิถีชีวิตของคนในสังคม 5) องค์ความรู้ด้านการเมืองการปกครอง ประเด็นที่พบมากที่สุดร้อยละ 52.38 คือ เรื่องความสัมพันธ์และความขัดแย้งระหว่างประเทศ 6) องค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจการค้าการลงทุน ประเด็นที่พบมากที่สุดร้อยละ 81 คือ เรื่องพัฒนาการเศรษฐกิจจีนที่มีอิทธิพลต่อประเทศต่าง ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). การวิเคราะห์อภิมาน meta – analysis. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นงลักษณ์ วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวาณิช. (2541) การสังเคราะห์งานวิจัยทางการศึกษาด้วยการวิเคราะห์ อภิมานและการวิเคราะห์เนื้อหา. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สํานักนายกรัฐมนตรี.
นาถนารี ชนะผล. (2558). การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับการพัฒนาองค์การทางการศึกษาสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้. ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.
โยธิน แสวงดี. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาและฝึกอบรมการวิจัย.
วรรณา ฐิติโรจน์ไพบูลย์. (2537). การสังเคราะห์งานวิจัยทางภาษาศาสตร์เชิงจิตวิทยา. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุนทรา โตบัว. (2551). การสังเคราะห์งานวิจัยที่ได้รับทุนวิจัยจากภาควิชาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุภางค์ จันทวานิช. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2544). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรไทย.
อุทุมพร จามรมาน. (2527). การสังเคราะห์งานวิจัย: เชิงปริมาณ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cooper, H. & Hedges, L. (1994). The Handbook of Research Synthesis. Newyork: Russell sage foundation.
Hedges, L.V. (1992). Meta – analysis. Journal of Educational Statistics. 17(4), 279-296.
Hedges, L.V. and I, Olkin. (1985). Statistical Methods for Meta – Analysis. Orlando, FL: Academic Press.
Hunter. J.E. & F.L. Schmidt. (1990.) Methods of Meta-Analysis: Correcting Error and Bias in Research Findings. Newbury Park, CA: Sage.
Kulik, J.A. & Kulik, C.C. (1989). Meta – analysis in education. International Journal of Educational Research. 13(3), 223-340.