การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความภาษาไทยของนิสิตชาวกัมพูชาด้วยชุดกิจกรรม การอ่านจับใจความ

Main Article Content

Nutkritta Nammontree

บทคัดย่อ

                 การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความภาษาไทยของนิสิตชาวกัมพูชาตามเกณฑ์ 85/85 เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านจับใจความภาษาไทยของนิสิตชาวกัมพูชาด้วยชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านจับใจความภาษาไทยของนิสิตชาวกัมพูชาด้วยชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความและเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนิสิตชาวกัมพูชาที่มีต่อชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนิสิตชาวกัมพูชาในโครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ประเทศเพื่อนบ้านด้านการศึกษาในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม รุ่น 9 ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม – 20 กรกฎาคม 2562 และเป็นนิสิตในกลุ่มเรียนที่  3  จำนวน 26 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการอ่านจับใจความภาษาไทย แผนการจัดการเรียนรู้  ชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความ  แบบทดสอบหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรม และแบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่า T – test และ ค่า E.I.


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความภาษาไทยของนิสิตชาวกัมพูชา มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.15/85.40 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ 85/85 ที่กำหนดไว้

  2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านจับใจความภาษาไทยของนิสิตชาวกัมพูชาด้วยชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความ มีค่าเท่ากับ 0.7265 คิดเป็นร้อยละ 72.65

  3. ความสามารถด้านการอ่านจับใจความภาษาไทยของนิสิตชาวกัมพูชาหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

  4. ความพึงพอใจของนิสิตชาวกัมพูชาที่มีต่อชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความ มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.60 ส่วน

เบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.90 อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ
: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
จิรัฐพร นวนสาย. (2557). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
จินตนา ใบกาซูยี. (2543). การเขียนสื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : สุวีริยสาส์นการพิมพ์.
แม้นมาส ชวลิต. (2545). “ปีการศึกษา 2546 ปีแห่งการอ่านและการเรียนรู้”. ในวารสารวิชาการ 5,11
(พ.ย. 2545).กรุงเทพฯ : สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.
วรพจน์ วงศ์กิจเจริญรุ่งเรือง และคณะ.(2554). การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ Open
World.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2561). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.
พรรณี ชาเทพ. (2555). การพัฒนาชุดกิจกรรมแบบศูนย์การเรียน เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนท่าแฝก-
อนุสรณ์ 4 สำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
วรารัตน์ ซอเซวี. (2556). แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความจากนิทานสุภาษิตสำหรับชาวต่างชาติ.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ.
กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ศริญดา เทียมหมอก. (2557). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยแบบฝึกการอ่านจับใจความโดยใช้สาระท้องถิ่นร่วมกับ
แผนที่ความคิด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย
ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สายฝน สุรกิจบวร. (2556). การพัฒนากิจกรรมการสอนโดยใช้หนังสือนิทานชุดส่งเสริมการอ่าน-
จับใจความร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
เสาวภา ช่วยแก้ว. (2557). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยแบบฝึกการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค KWLH Plus.
วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เสาวนีย์ แซ่ภู่. (2547). การสร้างแบบฝึกแบบโคลซเพื่อพัฒนาความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (ช่วงชั้นที่ 1). สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวัดผล
การศึกษา.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

Transted Thai References
Baikasuyi, J. (2000). How to Write Teaching and Learning Aids. Bangkok: Suweeriyasan
Printing.
Chathep, P. (2012). Developing Activities as Learning Center about Reading for Main Idea for
Learning Area of Thai Language for Prathomsuksa 6 Students Tha Fag Anusorn 4 Uttaradit Primary Educational Service Area Office 2. Master’s Thesis of Education in Curriculum and Instruction Uttaradit Rajabhat University.
Chawalit, M. (2002). “Academic Year 2003 The Year of Reading and Learning.” Cited in
Academic Journal 5, 11 (November 2002). Bangkok: Bureau of Academic Affairs and Educational Standards.
Chuaykaew, S. (2014). Developing Reading for Main Idea of Prathomsuksa 3 Students Using
KWLH Plus. Master’s Thesis of Education in Thai Language Department of Curriculum and Instruction: Silpakorn University.
Department of Academic Affairs Ministry of Education. (2001). Manual for Learning
Management for Learning Area of Thai Language. Bangkok: Printing Guru of Lad Phrao.
Nuansai, J. (2014). Development of Reading for Main Idea for Learning Area of Thai Language
Using Cooperative Learning of CIR for Prathomsuksa 5 Students. Master’s Thesis of Education in Curriculum and Instruction Buriram Rajabhat University.
Sae Poo, S. (2004). Developing Cloze Exercises for Improving Reading Comprehension of
Prathomsuksa 2 Students (Level 1). Master’s Independent Study of Education in Educational Assessment. Bangkok: Srinakarinwirot University Prasarnmit.
Sosewee, W. (2013). Reading for Main Idea Exercises Selected from Fables for Foreigners.
Master’s Thesis of Arts in Teaching Thai as a Foreign Language. Bangkok: Srinakarinwirot Unversity Prasarnmit.
Srisa-ard, B. (2018). Introduction to Research. 7th Edition. Bangkok: Suweeriyasan Printing
Srisa-ard, B. et al. (2018). Fundamentals of Educational Research. 8th Edition. Mahasarakham:
Taksila Printing.
Surakitboworn, S. (2013). Developing Teaching Activities Using Stories to Enhance Reading for
Main Idea and Cooperative Learning of Prathomsuksa 5 Students. Master’s Thesis of Education in Curriculum and Instruction: Sakon Nakho Rajabhat University.
Thiammork, S. (2014). Developing Reading for Main Idea of Prathomsuksa 3 Students Using
Local Content and Mind Mapping. Master’s Thesis of Education in Thai Language Department of Curriculum and Instruction. Silpakorn University.
Wongkitcharoenrungruang, W. et al. (2011). Education for 21st Century. Bangkok: Open World
Printing.