A Study of Kru Niwed Ruwicha’s performing method: Thai drum of Mahorasop Department

Main Article Content

เพียงแพน สรรพศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการบรรเลงกลองมลายูของครูนิเวศน์ ฤาวิชา เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างด้านเอกสารและด้านบุคคล ทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่ม ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจงได้แก่
1) ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ครูนิเวศน์ ฤาวิชา (ครุศิลปินต้นแบบ) 2) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องตีและเครื่องหนังสาย
กรมมหรสพ 3) กลุ่มลูกศิษย์ของครูนิเวศน์ ฤาวิชา และทำการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์สาระ ตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบสามเส้า


ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีการบรรเลงกลองมลายูของครูนิเวศน์ ฤาวิชา ประกอบไปด้วย 1) ด้านบุคลิกภาพ ได้แก่ 1.1) ท่านั่ง กลองมลายูตัวผู้จะนั่งในลักษณะการชันเข่าขวาขึ้น ส่วนกลองมลายูตัวเมียจะนั่งขัดสมาธิ 1.2) ท่าจับไม้ดีด กลองมลายูทั้งสองประเภทจะจับไม้ดีดในลักษณะท่าที่เหมือนกัน และ 2) ด้านเทคนิคการบรรเลง ประกอบไปด้วย 2.1) การดีดไม้ โดยในการดีดไม้ 1 ครั้ง ของกลองมลายูตัวผู้ มีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ได้แก่ การตั้งต้น  การออกจากหน้ากลอง  การปล่อยแขนตก  การสะบัดข้อมือออกจากหน้ากลอง การกลับจุดประคบเสียง ส่วนการดีดไม้ของกลองมลายูตัวเมีย มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ได้แก่ การตั้งต้น  การออกจากหน้ากลอง  การสะบัดข้อมือเข้าหาหน้ากลอง การกลับจุดประคบเสียง 2.2) การสะบัด/เสดาะ ปรากฏในกลองมลายูตัวผู้เท่านั้น ทำโดยการเลื่อนนิ้วชี้กลับมากดห้ามเสียง/ประคบเสียงเสมอ เสียงสะบัดที่ออกมาจะเป็นเสียง “ตลีด” 2.3) การขยี้ ปรากฏในกลองมลายูตัวผู้เท่านั้น มีสองแบบ ได้แก่ การขยี้แบบการเพิ่มพยางค์เป็นสองเท่าเป็นเครื่องดำเนินทำนอง และการขยี้โดยการดีดกลองตัวผู้ด้วยความเร็ว 2.4) การบังคับไม้ กลองมลายูตัวผู้ มี 5 หลักการผลิตเสียง 2 หลักการควบคุมเสียง ส่วนกลองมลายูตัวผู้ มี 3 หลักการผลิตเสียง 2 หลักการควบคุมเสียง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติศักดิ์ เขาสถิตย์, สัมภาษณ์, 30 มีนาคม 2561.
ธนิต อยู่โพธิ์. (2530). หนังสือเครื่องดนตรีไทย Thai musical instruments. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
นิรุจน์ ฤาวิชา, สัมภาษณ์, 6 เมษายน 2561
ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน. (2559). หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพคุณครูพริ้ง กาญจนะผลิน. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปัญญา รุ่งเรือง. (2517). ประวัติการดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
พูนพิศ อมาตยกุล. (2550). จดหมายเหตุดนตรี 5 รัชกาล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
ภัทรวดี ภูชฏาภิรมย์. (2542). ประวัติดนตรีไทย 1. ภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สงัด ภูเขาทอง. (2532). การดนตรีไทยและทางเข้าสู่ดนตรีไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
สงัด ภูเขาทอง. (2539). การดนตรีไทยและทางเข้าสู่ดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
สุภางค์ จันทวานิช. (2561). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สุวิชา คาตา, สัมภาษณ์, 17 มีนาคม 2561.
สำนักการสังคีต, ออนไลน์, 20 เมษายน 2561.
วรรณดี สุทธินรากร. (2559). การวิจัยเชิงคุณภาพ: การวิจัยในกระบวนทัศน์ทางเลือก. สำนักพิมพ์สยามปริทัศน์
กรุงเทพมหานครฯ.
Carl, R, R. (1969). Freedom to Learn. Ohio: Charles E. Merri.
Steiner, E. (1988). Methodology of Theory Building. Sydney; Educology Research Associates.
https://06513takdanaisarai.wordpress.com/2016/11/21/blog-post-title/
https://www.matichon.co.th/columnists/news_346863