ความคิดเห็นของราษฎรที่มีต่อโครงการฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า บ้านท่าต้นธง ตำบลไทยชนะศึก อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย People Opinions on Forest Protection Volunteer Training Project at Tha Ton Thong Village, Thai Chana Suek Sub – district, Thung S

Main Article Content

รักษ์ศักดิ์ รักษา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม ระดับความคิดเห็น และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นของราษฎรที่มีต่อโครงการฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่าบ้านท่าต้นธง ตำบลไทยชนะศึก อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย ข้อมูลการศึกษารวบรวมโดยใช้แบบสอบถามไปสอบถามราษฎรผู้เข้าฝึกอบรมในโครงการฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่าบ้านท่าต้นธง ตำบลไทยชนะศึก อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย ระหว่างวันที่ 12 – 15 มกราคม 2562 รวมจำนวน 80 คน วิธีวิเคราะห์ทางสถิติที่ใช้ทดสอบ สมมติฐานใช้สถิติ t-test และสถิติ F-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ .05 (gif.latex?\alpha = .05) และการวิเคราะห์เปรียบเทียบพหุคูณ (Multiple comparison test) ด้วยวิธีการของ Scheffe (Scheffe’s method)


ผลการศึกษาพบว่า ราษฎรตัวอย่างที่ทำการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 38.53 ปี      มีการศึกษาระดับประถมศึกษามีอาชีพเกษตรกรรม (ทำนา ทำสวน ทำไร่) เป็นอาชีพหลัก มีรายได้ของครัวเรือนต่อปีเฉลี่ย 126,888 บาท มีระยะเวลาการตั้งถิ่นฐานเฉลี่ย 34.15 ปี มีความคุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้พอสมควร เคยมีส่วนร่วมป้องกันรักษาป่าร่วมกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ เป็นสมาชิกองค์กรราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า มีความรู้เกี่ยวกับโครงการราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่าอยู่ในระดับปานกลาง และมีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้อยู่ในระดับปานกลาง ราษฎรมีความคิดเห็นที่มีต่อโครงการฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่าบ้านท่าต้นธงอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.86 จำแนกเป็น (1) ความคิดเห็นด้านความเหมาะสมของการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.85 และ (2) ความคิดเห็นด้านประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.88 ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นของราษฎรที่มีต่อโครงการฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่าบ้านท่าต้นธง ตำบลไทยชนะศึก อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย ได้แก่ ความคุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ การเป็นสมาชิกองค์กรราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า และความรู้เกี่ยวกับอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานของรัฐที่ดำเนินโครงการฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่าในการนำปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของราษฎรที่ได้จากการศึกษามาใช้เป็นข้อมูลประกอบการแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาโครงการฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่าในอนาคตให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป


 


 


The objectives of this study were to determine socio-economic characteristics, opinions level and factors affecting people opinions on forest protection volunteer training project at Tha Ton Thong village, Thai Chana Suek sub - district, Thung Saliam district, Sukhothai province. Data gathered by employing the designed questionnaire and interviewed 80 people who participated in the volunteer training project at Tha Ton Thong village, Thai Chana Suek sub - district, Thung Saliam district, Sukhothai province during 12 - 15 January, 2019. Statistical analysis methods employed for testing the setting hypothesis were t-test and F-test with the given significant level at .05 (p-value = .05) and multiple comparison test analysis of Scheffe method.


The results of this study indicated that the respondents were male with Their average age of 38.53 years. Their educational level were at primary school. Agriculture (farming/gardening/grow plant crops) was their main occupation. The average annual household income was 126,888 bath per year. Their average resettled period were at 34.14 years and they were familiarity with the forest officers at the moderate level, used to participated in forest protection together with the forest officers, being social group members, membership of forest protection volunteer organization. They were having knowledge about forest protection volunteer training project and forest resource conservation at the moderate level. People opinions on forest protection volunteer training project at Tha Ton Thong village at the most agree level with the average score of 3.86 Furthermore, factors affecting people opinions on forest protection volunteer training project at Tha Ton Thong village were familiarity with the forest officers, forest protection volunteer membership being and knowledge about forest resource conservation.


 


 


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Royal Forest Department. (2017). Forest Protection Volunteer Training Project Handbook of Royal Forest Department. Forest Protection and Fire Control Bureau, Royal Forest Department, Bangkok.
2. (2019a). Forest area of Thailand in 1973 - 2017. Forest Land Management Bureau,
Royal Forest Department, Bangkok. Retrieved March, 11, 2019 from https://www.forest.go.th.
3. (2019b). Forest Protection Volunteer Training Project. Forest Protection and Fire Control Bureau, Royal Forest Department, Bangkok. Retrieved March, 11, 2019 from https://www.forest.go.th/forestprotect_people/index.php?option=com_content&view=article&id=463&Itemid=511&lang=th.
4. Boonreang K. (1999). Research Statistics 1. P N Printing, Bangkok.
5. Pornphen P. (1988). Attitude measurement. Faculty of Social Sciences and Humanities,
Mahidol University, Bangkok.
6. Puangrat T. (1997). Research methodology in behavioral sciences and social sciences.
Chulalongkorn University Press, Bangkok.
7. Luan S. and Angkana S. (1981). Educational research principles. Taweekij Printing, Bangkok.
8. Forest Management Bureau No.4 (Tak). (2018). Forest Protection Volunteer Training Project
in Sukhothai Province, The Fiscal Year of 2019, Forest Management Bureau No.4 (Tak),
Royal Forest Department. Forest Management Bureau No.4 (Tak), Tak.
9. Krejcie, R. V. and E. W., Morgan. (1970). Educational and Psychological Measurement.
Texas University, Texas.