ชื่อพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร : การเปรียบเทียบชื่อของเพศชายและเพศหญิง

Main Article Content

Penprapa Singsawat

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบลักษณะภาษา กลุ่มความหมาย ความเชื่อและค่านิยมของชื่อพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ของเพศชายและเพศหญิง จาก 5 ปีพุทธศักราชที่ขอชื่อพระราชทานมากที่สุด ได้แก่ พ.ศ.2520 พ.ศ.2522 พ.ศ.2529 พ.ศ.2540 และ พ.ศ.2514 จำนวน 1,179 รายชื่อ


          การศึกษาลักษณะภาษาด้านพยางค์พบตั้งแต่จำนวน 1 พยางค์ ถึง 5 พยางค์ การศึกษาโครงสร้างชื่อพบตั้งแต่ 1 หน่วยศัพท์ ถึง 3 หน่วยศัพท์ การศึกษาที่มาของภาษาพบภาษาที่มาจากภาษาบาลี – สันสกฤตมากที่สุดทั้งชื่อของเพศชายและเพศหญิง และที่มาของภาษาที่พบน้อยที่สุดของเพศชาย คือ ภาษาเขมร และภาษาไทยผสมเขมร ส่วนที่มาของภาษาที่พบน้อยที่สุดของเพศหญิง คือ ภาษาเขมร


          การศึกษากลุ่มความหมายพบกลุ่มความหมายความดีงามและความเจริญรุ่งเรือง มากที่สุดทั้งเพศชายและเพศหญิง กลุ่มความหมายที่พบน้อยที่สุดของเพศชาย คือ กลุ่มความหมายคุณลักษณะและคุณสมบัติและกลุ่มความหมายเมือง แคว้น ส่วนของเพศหญิงพบน้อยที่สุดคือกลุ่มความหมายลำดับและจำนวน ความเชื่อและค่านิยม พบมากที่สุดคือความเชื่อและค่านิยมที่เกี่ยวกับความดีงามและความเจริญรุ่งเรือง ทั้งของเพศชายและเพศหญิง ความเชื่อและค่านิยมที่พบน้อยที่สุดของเพศชาย คือ ความเชื่อและค่านิยมที่เกี่ยวกับลักษณะและคุณสมบัติ ของเพศหญิงพบน้อยที่สุดคือเกียรติยศและอำนาจ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

Penprapa Singsawat, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

References

กฤติกา ชูผล. (2554). ชื่อเรือประมงในจังหวัดสมุทรสงคราม : การศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กอบโชค อินทรวิสิฐ. (2551). ตั้งชื่อ เช็คดวง ทิศทางแห่งความร่ำรวย. นนทบุรี : สำนักพิมพ์ ไอยรา.
จริญญา ธรรมโชโต. (2540). การศึกษาภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อเล่นของคนไทยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นฤมล รัตน์อ่อน. (2554). ความหมาย ความเชื่อ และค่านิยมที่สะท้อนจากการตั้งชื่อนักเรียนตำบลท่าคล้อง ช้าง จังหวัดเลย. ปริญญานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปานทิพย์ มหาไตรภพ. (2545). นามสกุลพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว: การวิเคราะห์ทางอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วงเดือน คัยนันทน์. (2547). การตั้งชื่อพันธุ์ไม้มงคลในภาษาไทย.วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรางคณา สว่างตระกูล. (2540). การศึกษาภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อของคนไทยในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักพระราชวัง กรมราชเลขานุการในพระองค์. (2560). ชื่อและชื่อสกุลที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระราชทาน พุทธศักราช 2489 – 2559 เล่ม 1.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
สำนักพระราชวัง กรมราชเลขานุการในพระองค์. (2560). ชื่อและชื่อสกุลที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระราชทาน พุทธศักราช 2489 – 2559 เล่ม2.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.