กระบวนการส่งเสริมเอกลักษณ์อาชีพสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ ในตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลเอกลักษณ์อาชีพสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุในตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัด สมุทรปราการ (2) ศึกษากระบวนการส่งเสริมเอกลักษณ์อาชีพสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม (3) ศึกษาทางเลือกรูปแบบในการส่งเสริมเอกลักษณ์อาชีพสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ และ(4) เพื่อวิเคราะห์ทางเลือกรูปแบบในการส่งเสริมเอกลักษณ์อาชีพสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุในตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัย คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนและส่งเสริมอาชีพโดยตรง จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบกำหนดค่าระดับคะแนนในการเปรียบเทียบรายคู่ และแบบแสดงความคิดเห็นปลายเปิด การวิเคราะห์ผลการเปรียบเทียบรายคู่โดยกระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process: AHP) และเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญของกระบวนการส่งเสริมเอกลักษณ์อาชีพสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุในตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
ผลการศึกษา พบว่า เอกลักษณ์อาชีพสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่ทำอาชีพประมงน้ำจืด และอาชีพการเกษตร รองจากอาชีพหลักทำอาชีพประมงแปรรูป เกษตรแปรรูป อาหารคาวหวาน อาชีพศิลปะการแสดงนาฏศิลป์ และทำอาชีพเป็นส่วนน้อย คือ เครื่องแกงสำเร็จรูป และอาชีพหัตถกรรมจักสาน สำหรับกระบวนการส่งเสริมเอกลักษณ์อาชีพสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม พบว่า การมีนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมอาชีพชุมชนและอาชีพสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน การทำให้กลุ่มอาชีพชุมชนมีความเข้มแข็ง การมีวิธีการส่งเสริมเอกลักษณ์อาชีพสำหรับผู้สูงอายุ การมีรูปแบบการส่งเสริมที่เหมาะสมกับอาชีพของกลุ่มผู้สูงอายุ และการมีแหล่งการเรียนรู้อาชีพดั้งเดิมของชุมขนเพื่อเป็นกำลังใจกับกลุ่มอาชีพ
ผลการวิเคราะห์ทางเลือกรูปแบบในการส่งเสริมเอกลักษณ์อาชีพสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุในตำบลบางปลา พบว่า ส่วนใหญ่เลือกการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีน้ำหนักการให้ความสำคัญมากที่สุดค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.49 รองลงมาตลาดนัดชุมชน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.19 และตลาดชุมชนหรือร้านค้าชุมชนน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.15 ตามลำดับ และผลการวิเคราะห์การจัดการท่องเที่ยวชุมชนในการส่งเสริมเอกลักษณ์อาชีพสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่า กลุ่มเอกลักษณ์อาชีพที่อยู่ในชุมชนมีความตื่นตัว มองเห็นโอกาสในการเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มอาชีพและเกิดความสามัคคีของสมาชิกในกลุ่มอาชีพที่ร่วมแรงร่วมใจกันผลิตสินค้าของตนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวชุมชน
Article Details
References
Community Development Department. (2016). Operation Guide to New OTOP occupations in 2016. Officeof Local wisdom and community Enterprise. Community Development Department Ministry of Interior. (in Thai)
เกษม กุณาศรี และคณะ. (2559). การเลือกเอกลักษณ์ท้องถิ่นสำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยพู. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10 (4), 88-89.
Kunasri, K. & et al. (2016). Local identity for community product development: case study of Baan Huay Chompoo community enterprise. Journal of humanistic and social sciences. 10 (4), 88-89. (in Thai)
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). แนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้สูงอายุอย่างบูรณาการ. กรุงเทพฯ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
National Economic and Social Development Board. (2018). Guidelines integrated for driving strategies of elderly development. Bangkok: Office of National Economic and Social Development Board. (in Thai)
ธัชกร ภัทรพันปี. (2560). การประกอบธุรกิจในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: โปรแทคปริ้นติ้ง.
Phattaraphanpee, T. (2017). Business in Digital era. Bangkok: Protexprinting. (in Thai)
นิกร ผัสดี. (2555). การส่งเสริมกลุ่มอาชีพราษฎรขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. ปริญญารัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Pasadee, N. (2012). Promotion of occupational groups by Tambon Administrative Organizations in Maetha District, Lampang Province. Master of Public Administration, Chiang Mai University. (in Thai)
ปิยะ เพชรสงค์. (2553). รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพเกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
Pechsong, P. (2010). The Study of existing and connection format of agriculturist under the push and support from subdistrict administrative organization. In Nakorn Sri Thamarat province. Research report. Rajamangala University of Technology Srivijaya. (in Thai)
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). รายงานการศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการพัฒนาประเทศจากผลการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. อัมรินทร์พริ้นติ้ง.
Office of the National Economic and Social Development Council. (2018). The effect to changes in population structure and suggestions to development of Thai population. Office of the National Economic and Social Development Council. AmrinPinting. (in Thai)
สุมาลี สังข์ศรี. (2550). ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2(3), 99-100.
Sangsri, S. (2007). Local knowledge and building a learning society. Journal of Education. Thammasat University, 2(3), 99-100. (in Thai)
เอกชัย พุมดวง. (2557). กระบวนการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมตามแนวเศรษฐกิจชุมชนในตำบลโคกโคเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
Phumduang, E. (2014). The process of learning about local wisdom in accordance with the community economy. Of careers in Khok Kho Tao Subdistrict, Mueang District, Suphan Buri Province. Research report. Suan Dusit Rajabhat University. (in Thai)
กรมทรัพย์สินทางปัญญา. (2557). สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI). สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2561, จาก http://www. ipthailand. go.th/th/gi-002.html
Department of Intelligence Property. (2014). Geographical Indication GI. Retrieved January 6, 2019, from https: //www. ipthailand. go.th/th/gi-002.html (in Thai)
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2558). มาตรฐานการส่งเสริมอาชีพขององค์กรปกครองท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2561, จาก http:// www.dla.go.th/work/e_book/ eb1/ std210550/24/24. html
Department of local Administration. (2015). Career promotion standards of local Administration. Retrieved January 16, 2019, from http:// www.dla.go.th/work/e_book/ eb1/ std210550/24/24. html (in Thai)
ธนาภรณ์ พรมสุวรรณ. (2561). จับมือทำม่อนไหมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2561, จาก
https://www. matichon.co.th/ lifestyle/news_873825
Promsuwan, T. (2019). Joins hands with the Department of Sericulture to development for
elderly. Retrieved March 13, 2019, from https://www. matichon.co.th ifestyle// news_
873825 (in Thai)
Cohen,J.M. & Uphooff,N.T. (1981). Rural development participation : Concept and measures for projectdesign implementation and evolution rural development committee center for international studies. New York : Longman.
Ho, W.; Dey P.K. and Higson, H.E. (2008). Multiple criteria decision making techniques in higher education. International Journal of Educational Manaement, 20(5): 319-337.
Tomus L. Satty. (1980). The Anlytic Hierarchy Process. New York: McGraw Hill.