ความไว้วางใจทางการเมืองของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีต่อการบริหารราชการส่วนภูมิภาค

Main Article Content

วสันต์ จิสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความไว้วางใจทางการเมืองและปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อความไว้วางใจทางการเมืองของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มี
ต่อการบริหารราชการส่วนภูมิภาค จากการศึกษาพบว่า ความไว้วางใจทางการเมืองต่อผู้มีสิทธิอำนาจทางการเมือง (Political Authorities) เกิดจากความคุ้นเคย ความสัมพันธ์ส่วนตัว ความเป็นมุสลิม
และสื่อสารภาษาเดียวกัน แต่อย่างไรก็ดี กลุ่มนี้มีเป็นจำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบกับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีความไว้วางใจทางการเมืองต่อผู้มีสิทธิอำนาจทางการเมือง ซึ่งกลุ่มที่ไม่มีความไว้วางใจ เนื่องจากมองว่า กลุ่มข้าราชการเข้ามาเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ และไม่ได้เป็นบุคคลในพื้นที่หรือไม่สามารถสื่อสารกันได้ ทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจทางการเมืองต่อผู้มีสิทธิอำนาจทางการเมือง สำหรับความไว้วางใจทางการเมืองต่อระบบการเมือง (Political Regime) นั้น พบว่า ไม่มีความไว้วางใจทางการเมืองต่อระบบการเมือง อันเนื่องมาจากความไม่เชื่อมั่นในระบบความยุติธรรม และการรวมศูนย์อำนาจการตัดสินใจไว้กับหน่วยงานของรัฐ โดยปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อความไว้วางใจทางการเมืองของคณะกรรมการดังกล่าว มี 4 ปัจจัย ได้แก่ปัจจัยด้านการสื่อสารทางการเมือง ปัจจัยด้านการระดมทางการเมือง ปัจจัยด้านทุนทางสังคม และปัจจัยด้านสถานภาพทางเศรษฐกิจ และสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชิตพล กาญจนกิจ. (2545). ความไว้วางใจทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเมืองท้องถิ่นไทย: ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบล. วิทยานิพนธ์ปริญารัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทรงพล สวาสดิ์ธรรม. (2526). สังคมประกิตการเมืองของเยาวจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศึกษากรณีนักศึกษาวิทยาลัยครูสงขลาและยะลา. สารนิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประสิทธิ เวทย์ประสิทธิ์. (2530). ความไว้วางใจทางการเมืองและการหยามเหยียดทางการเมือง : ศึกษาเฉพาะกรณีเยาวชนจังหวัดชายแดนภาคใต้. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พงศธร สัจจชลพันธ์. (2529). การศึกษาความไว้วางใจทางการเมืองและความรู้สึกมีประสิทธิภาพทางการเมืองของชนชั้นนำในหมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งเคยเป็นเขตอิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์
แห่งประเทศไทยในจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิ ตภาควิชาการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิเชษฐ สิธรรมรังษี. (2529). แรงจูงใจในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้นำชุมชนไทย: ศึกษากรณีผู้นำชุมชนในเขตอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Alan Marsth. (1977). Protest and Political Consciousness. London: Sage Publication.
David Easton. (1965). A Systems Analysis of Political Life. New York: John Wiley & Sons.
Hetherington, Marc J.(1998). The Political relevance of political trust. American Political Science Review, 92, 791-808.
Nie, Norman H. and Bingham Powell, Jr. and Kenneth Prewitt. (1969). Social structure and politicalparticipation: Developmental relationships. ΙΙ. American Political Science Review, 63, 816-817.
William A Gamson. (1968). Power and Discontents. Dorse: Homewood and Illinois.