รูปแบบการพัฒนาผู้นำนันทนาการสำหรับนักฝึกอบรมในประเทศไทย

Main Article Content

ประจักษ์ วิฑูรเศรษฐ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้วัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นของผู้นำนันทนาการสำหรับนักฝึกอบรมในประเทศไทย (2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาผู้นำนันทนาการสำหรับนักฝึกอบรมในประเทศไทย (3) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาผู้นำนันทนาการสำหรับนักฝึกอบรมในประเทศไทย โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย ดังนี้ 1) การศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นของผู้นำนันทนาการสำหรับนักฝึกอบรมในประเทศไทยโดยการศึกษาค้นคว้าข้อมูล และวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นนักนันทนาการและนักวิชาการการฝึกอบรม 2) การร่างรูปแบบการพัฒนาผู้นำนันทนาการสำหรับนักฝึกอบรมในประเทศไทยที่เหมาะสม โดยทำการสร้างหรือพัฒนารูปแบบขึ้นมาตามแนวคิด ทฤษฎี ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และ 3) การประเมินประเมินรูปแบบการพัฒนาผู้นำนันทนาการสำหรับนักฝึกอบรมในประเทศไทย ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) เพื่อทำการประเมินรูปแบบที่เหมาะสมของรูปแบบตามความเห็นชอบของผู้เชี่ยวชาญ


ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการพัฒนาผู้นำนันทนาการสำหรับนักฝึกอบรมในประเทศไทยนั้นประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย (1) วัตถุประสงค์ของสมรรถนะผู้นำนันทนาการ คือ 1) เพื่อความรู้และทักษะความเป็นผู้นำ 2) เพื่อเพิ่มวิสัยทัศผู้นำ 3) เพื่อเพิ่มทักษะในวิชาชีพ 4) เพื่อเพิ่มเนื้อหาวิชาการเชื่อมโยงกับกิจกรรม 5) เพื่อการวางแผนสร้างสรรค์กิจกรรม 6) เพื่อทักษะการจัดการและส่งเสริมกิจกรรม 7) เพื่อทักษะสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 8) เพื่อการสื่อสารด้วยอวัจนภาษา 9) เพื่อเพิ่มทักษะความเป็นครู และ 10) เพื่อรู้กลวิธีในการสอน (2) สมรรถนะของผู้นำนันทนาการ คือ 1) ด้านภาวะผู้นำ 2) ด้านเนื้อหาวิชาการ 3) ด้านการบริหารโปรแกรม 4) ด้านการสื่อสาร และ 5) ด้านจิตวิทยาเบื้องต้น (3) การพัฒนาผู้นำนันทนาการสำหรับนักฝึกอบรมสามารถแบ่งวิธีการพัฒนาตามสมรรถนะของผู้นำนันทนาการ ดังนี้ 1) ด้านภาวะผู้นำ ได้แก่ การเข้าฝึกอบรมและการพัฒนารายบุคคล 2) ด้านเนื้อหาวิชาการ ได้แก่ การเรียนรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ การเข้าร่วมการฝึกอบรม  การฟังบรรยายและการเข้าสัมมนา 3) ด้านการบริหารโปรแกรม ได้แก่ การเรียนผ่านกิจกรรมนันทนาการ การฝึกอบรมการจัดกิจกรรมนันทนาการ 4) ด้านการสื่อสาร ได้แก่ บุคลากรที่มีประสบการณ์มาถ่ายทอด การโค้ช การฝึกทักษะการพูด การตั้งคำถาม และ 5) ด้านจิตวิทยาเบื้องต้น ได้แก่ การฝึกงานในสถานการณ์จริงและการเรียนรู้แบบกรณีศึกษา


คำสำคัญ : นันทนาการ, ผู้นำนันทนาการ, การฝึกอบรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เฉลิม จักรชุม. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารในการจัดการเรียนรู้. วารสาร.มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ฐิติมา ประมลบาล. (2555). การพัฒนามาตรฐานวิชาชีพนักนันทนาการในประเทศไทย.วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนวรรต ภูริสวัสดิ์. (2551). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้นำนันทนาการตามทัศนะของนิสิตสาขาวิชานันทนาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการนันทนาการ.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นพดล จิรบุญดิลก. (2554). อนาคตภาพการผลิตบุคลากรวิชาชีพสุขศึกษา พลศึกษา กีฬา และนันทนาการ ของสถาบันอุดมศึกษาประเทศไทย ใน พ.ศ. 2554 – 2563. ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิชิต เทพวรรณ์. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์:แนวคิดและกลยุทธ์เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วี.พรินท์(1991) จำกัด,หน้า166-167.
พิชาวีร์ เมฆขยาย. (2550). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้สำหรับผู้นำกิจกรรม นิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พีระพงศ์ บุญศิริ. (2542). นันทนาการและการจัดการ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, หน้า 125-126.
เรืองยศ วัชรเกตุ. (2546). คุณลักษณะและทักษะพื้นฐานของบุคลากรในวิชาชีพนันทนาการ. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (การจัดการนันทนาการ). กรุงเทพ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
วิจิตร อาวะกุล. (2540). การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.หน้า 1.
วิพงษ์ชัย ร้องขันแก้ว. (2555). การใช้สื่อสังคมออนไลน์ประกอบการเรียนการสอนในสาขานันทนาการ.ทุนอุดหนุนจากคณะพลศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุวชัย ฤทธิโสม. (2556).รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านนันทนาการของสถาบันการพลศึกษา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา.
Bennis, Warren G. (1969). Organization Development: Its Nature, Origins and Prospects.Massachusetts: Addison-Wesley.
Bollin, S. (1998). The at Home Independence Program: A Recreation Program Implemented by a Volunteer. Psychology Literature. Unison Behavioral Health Group. Toledo.
Christopher R. Edginton. (2005). Ecosystem Transformations of the Laurentian Great Lake Michigan by Nonindigenous Biological Invaders: 101-116.
Durbin J.Andrew. (1998). Leadership: Research Finding Practice and Skills: 2nd ed.
Boston: Houghton Mifflin Company.
Edginton, C. R.; et al. (1995). Leisure and Life Satisfaction. Iowa: Brown and Benchmark Publishing.
Hersey and Blanchard. (1982). Paul and Blanchard, Kenneth H. 1982. Management of organizational behavior: Utilizing human resources. New York: Prentice -Hall.
Keeves. (1994). Educational research, Methodology and measurement: An international handbook. Oxford: Pergamon Press, p. 560.
Kraus. (1997). R. Leisure in a changing America. New York: Macmillan, 1994: 3.
Lambrecht J.L. & et al. (1997: 65-68). Importance of On-The-Job Experiences in Developing Leadership Capabilities: Berkeley: University of California at Berkeley.
Little D.E. & Watkins M.N. (2004, Abstract). Exploring Variation in Recreation Activity Leaders’ Experience of Leading: Journal of Park and Recreation Administration.
Mondy, R, W., R.M. Noe and S.R Premeaux, (1999). Human Resource Management.7 th.ed. New Jersey: Upper Saddle River.
Nadler. (1970). International Review of Cytology, Academic Press, 1974 : p. 88.
Neipoth. (1983). Leadership for Recreation, Park and Leisure. Sagamore Publishing. L.L.C, Illinois.
Smith. (1991). Achieving readiness for organizational change. Library Management, 26(6), 408-412.
Steiner, E. (1990). Recent progress in processing and properties of ZnO.
Werner & DeSimone. (2009). Human resource development. 4th ed. Mason, OH: South Western Thomson, pp. 10-11.
Winter G. (2003). High performance leadership: Creating leading and living in a high
performance world: Singapore: John Wiley & Sons.
Yoshioka, C. F.; & Ashcraft, R. F. (2003). Leadership Traits of Selected Volunteer Administrators. Leisure. 27(3-4): 265-282.