ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่ออาหารพื้นถิ่นจังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

Khachen Watthanakosol

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่ออาหารพื้นถิ่นจังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว พฤติกรรมการบริโภคของนักท่องเที่ยวชาวไทย และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความพึงพอใจกับพฤติกรรมการบริโภคของนักท่องเที่ยวที่มีต่ออาหารพื้นถิ่นจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดสุรินทร์ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิธีการเก็บตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 383 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย      t-distribution และการวิเคราะห์ความแปรปรวน วิเคราะห์สหพันธ์พหุคูณ และวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ


ผลการวิจัย พบว่า ความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.86 พฤติกรรมการบริโภคอาหารพื้นถิ่นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 นักท่องเที่ยวที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้และอาชีพที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่ออาหารพื้นถิ่นแตกต่างกัน และนักท่องเที่ยวที่มีเพศ อายุ รายได้และอาชีพ ที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารพื้นถิ่นแตกต่างกัน ส่วนปัจจัยระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารพื้นถิ่นไม่แตกต่างกัน และพบว่าความพึงพอใจอาหารพื้นถิ่นโดยรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารพื้นถิ่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง
กีรติพร จูตะวิริยะ, คำยิน สานยาวง, และคำพอน อินทิพอน. (2554). วิถีการบริโภคอาหารกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในยุคโลกาภิวัฒน์ เขตนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง. 7(2), 49-73.
นงค์นุช ประยูรหงษ์. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามสุขบัญญัติแห่งชาติของนิสิตปริญญา
ตรีปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เบญจมาภรณ์ ชำนาญฉา. (2561). การท่องเที่ยวเชิงอาหาร : ศักยภาพและความได้เปรียบของประเทศไทย. วารสารวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 24(1), 103-116.
ปาริชาติ เบ็ญฤทธิ์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของลูกค้าร้านอาหารไทยในประเทศมาเลเซีย. กระแสวัฒนธรรม, 17(32), 59-72.
สุธาสินิ วิยาภรณ์, จุฑามาส วัชรวงศ์ทิพย์, จิตตินัน วุฒิกร, และญาดา วรรณสุข. (2561). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อเอกลักษณ์ของ อาหารท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต. วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 16(2), 128-137.
สุวิมล ติรกานันท์. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิรมย์ พรหมจรรยา, ชุติมา ต่อเจริญ, และคมสัน รัชตพันธ์. (2546). การพัฒนาการท่องเที่ยวชนบท : จังหวัดภูเก็ต. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.


BIBLIOGRAPHY
Benrit, P. (2016). Factors Affecting Customer Satisfaction of Thai Restaurants in
Malaysia. SiamU Journal-ebook, 17(32), 59-72.
Canny, I. U. (2013). The Role of Food Quality, Service Quality, and Physical Environment
on Customer Satisfaction and Future Behavioral Intentions in Casual Dining
Restaurant. Konferensi Nasional Riset Manajemen VII, Palembang.
Chumnanchar, B. (2018). Gastronomy Tourism : Thailand’s Competitiveness. APHEIT JOURNALS, 24(1), 103-116.
Jutaviriya, K., Sannhavong, K., & Inthiphon, K. (2011). Consumption of Local Food and Social Changes in Vientiane in the Era of Globalization. Journal of Mekong Societies, 7(2), 49-74.
Prayoonhong, N. (2004). Factor affecting food consumption behavior in accordance with the national health recommendationa of Srinakharinwirot first year undergraduate students. Thesis Master of Science, Srinakharinwirot University.
Promchanya, A., Torchareon, C., & Ratchatapan, K. (2003).
Rural Tourism Development: Phuket Province. Bangkok : The Thailand Research Fund.
Tirakanant, S. (2008). Research Methodology in Sciences : Guidelines for practice. Bangkok: Chulalongkorn University.
Viyaporn, S., Watcharawongthip , J., Wuttikorn, J., & Wansuk, Y. (2018). Satisfaction of Thai Tourists of identity traditional food in Phuket Province. MBU e-journal Mahamakut Buddhist University, 16(2), 128-137.
World Tourism Organization. (2012). Global report on food tourism : AM report volume four. Madrid, Spain: Author.