คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูภาษาจีนในมุมมองของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

เยาวลักษณ์ วิสุทธิ์สิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูผู้สอนภาษาจีนผ่าน
มุมมองของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่
ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาภาษาจีน เป็นรายวิชาเลือกเสรีภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน
120 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามคุณลักษณะที่
พึงประสงค์ของครูภาษาจีน ครอบคลุมทั้งสิ้น 4 ด้าน ได้แก่ ความสามารถในการสอน ด้านคุณธรรมและ
จริยธรรม ด้านบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ และด้านการวัดและประเมินผล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ
สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมกลุ่ม
ตัวอย่างลงความเห็นให้คุณลักษณะทั้ง 4 ด้าน ในระดับมากที่สุด โดยด้านความสามารถในการสอน มีคะแนน
เฉลี่ยสูงที่สุด (x̄= 4.83) รองลงมาคือ ด้านบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ ด้านการวัดและประเมินผล
และด้านคุณธรรมและจริยธรรม ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563, จาก https://person.mwit.ac.th/01-Statutes/NationalEducation.pdf
ปราณี กลุละวณิชย์. (2550). มุมมองหนึ่งต่อนโยบายการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศของ ไทย. ข้อมูลพื้นฐานการจัดการเรียนการสอนและความต้องการภาษาต่างประเทศ ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรีดี ทุมเมฆ, ภักดี โพธ์สิงห์. (2560). การศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทย: สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี. 8(1), 110-130.
พัชนี ตั้งยืนยง, สุรีย์ ชุณหเรืองเดช. (2552). การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย : ระดับอุดมศึกษา. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2563, จาก http://www.thaiworld.org/th/include/answer_search.php?question_id=831
พุทธชาด ลิ้มศิริเรืองไร. (2561). การวิเคราะห์ความต้องการในรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับอาเซียนในรูปแบบการสอนแบบมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี. 9(2), 257-271.
พจมาลย์ สกลเกียรติ. (2562). การศึกษาคุณลักษณะของครูที่พึงประสงค์ ตามทัศนะของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 10. วันที่ 12-13 กรกฎาคม 2563. 446-456
มนาภรณ์ น้ำทอง, เยาวลักษณ์ วิสุทธิ์สิริ. (2559). การประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาจีน. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ครั้งที่ 8. วันที่ 15 ธันวาคม 2559. 611-617.
เรืองวิทย์ นนทภา. (2559). คุณลักษณะของครูที่ผู้เรียนประทับใจ: ต้นแบบของครูดี. วารสารวิชาการมหาวิทยา ลัยฟาร์อีสเทอร์น, 10(2), 151-152.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
วิจารณ์ พานิช, ปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร. (2563). การศึกษาคุณภาพสูงระดับโลก. กรุุงเทพฯ : มููลนิิธิิสยามกััมมาจล.
อัสมา ทรรศนะมีลาภ. (2559). หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษา การสื่อสารและธุรกิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานีผ่านมุมมองของอาจารย์ นักศึกษาและผู้ประกอบการ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 35 (4), 219-228.