มอญรับเสด็จ : การสร้างสรรค์นาฏกรรมจากประวัติศาสตร์และการรำมอญปทุมธานี

Main Article Content

มนัญชยา เพชรูจี

บทคัดย่อ

เนื้อหาในบทความวิชาการฉบับนี้ ผู้เขียนต้องการนำเสนอให้เห็นถึงการสร้างสรรค์นาฏกรรมจาก
ประวัติศาสตร์และการรำมอญปทุมธานี โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและการพระราชทาน
นามเมืองปทุมธานี 2) เพื่อกำหนดรูปแบบและองค์ประกอบการสร้างสรรค์การแสดงชุด “มอญรับเสด็จ”
จากการตีความประวัติศาสตร์การพระราชทานนามเมืองปทุมธานี การรวบรวมข้อมูลและสังเคราะห์องค์
ความรู้จากประชากรและกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีเจาะจง โดยเลือกจากคณะรำมอญอาชีพและปราชญ์ชาวบ้าน
รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย ที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรำมอญปทุมธานีและการสร้างสรรค์งาน
นาฏกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ แบบประเมินและการระดมความคิดเห็น
วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอข้อมูลด้วยการพรรณาเชิงวิเคราะห์ใน
รูปแบบการแสดง
ผลการศึกษาพบว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ล้นเกล้ารัชกาลที่ 2 และ
กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ได้เสด็จประพาสเมืองสามโคกโดยชลมารค เพื่อทรงเยี่ยมเยือนชาวรามัญ
ที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ พระองค์ทรงประทับ ณ พลับพลาริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงกับเมืองสามโคก ทรงรับ
ดอกบัวจากพสกนิกร ซึ่งนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอยู่เป็นเนืองนิตย์ จึงพระราชทานนามเมืองสามโคกให้เป็นสิริ
มงคลใหม่ว่า "ประทุมธานี" เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2358 นำไปสู่การกำหนดรูปแบบและองค์ประกอบ
การสร้างสรรค์การแสดงชุด “มอญรับเสด็จ” ซึ่งเป็นการนำแนวคิดและแรงบันดาลใจจากประวัติศาสตร์
การพระราชทานนามเมืองปทุมธานีมาวิเคราะห์ ตีความหมายและค้นหาคุณค่าในคติชน ความเชื่อและ
ขั้นตอนตามประวัติศาสตร์ออกมาเป็นชุดการแสดง อนึ่งรูปแบบการแสดงได้รับแนวความคิดจากนายดิฐดา
นุชบุษบา ปราชญ์ชาวบ้านและนางศรีรัตน์ ยั่งยืน ครูนาฏศิลป์ชำนาญการพิเศษ โรงเรียนอนุบาลปทุมธานี
โดยแบ่งออกเป็นองค์ที่ 1 แนะนำประวัติความเป็นมาและจุดประสงค์ของการแสดง องค์ที่ 2 สตรีชาวมอญ
อาบน้ำแต่งตัวเพื่อไปรับเสด็จล้นเกล้ารัชกาลที่ 2 และองค์ที่ 3 ล้นเกล้ารัชกาลที่ 2 เสด็จพระราชดำเนินทาง
ชลมารค ชาวมอญในเมืองสามโคกร่วมกันรับเสด็จและนำดอกบัวมาถวาย ล้นเกล้ารัชกาลที่ 2 ประทาน
นามเมือง “ประทุมธานี” ดนตรีที่ใช้ในการประกอบการแสดงใช้เสียงสังเคราะห์ที่มีพื้นฐานเสียงจากวงปี่
พาทย์มอญเครื่องใหญ่ปรับปรนทำนองเพลงมาจากเพลงมอญประทุม การแต่งกายได้ประยุกต์จากรูปแบบการแต่งกายของชาวมอญปทุมธานี อุปกรณ์ประกอบการแสดงประกอบด้วยพระบรมสาทิสลักษณ์
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เรือสุพรรณหงส์ ร่มและดอกบัว ฉากที่ใช้เป็นการจำลองสภาพเมือง
สามโคกในอดีต ซึ่งมีนาบัวอยู่เป็นจำนวนมาก กระบวนรำสร้างสรรค์จากภาษาท่าทางอากัปกริยาตาม
ธรรมชาติ ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทยและท่ารำมอญปทุมธานี

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กชพร ตราโมท. (2541). มอญรำ (ปัวฮะเปิ้น): ศิลปะคุณภาพของมอญ. จุลสารไทยคดีศึกษา. กรุงเทพฯ:สถาบันไทคดีศึกษา.
กรมศิลปากร. (2544). พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดปทุมธานี. กรุงเทพ:โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว.
ชมนาด กิจขันธ์. (2547). นาฏยลักษณ์ตัวพระละครแบบหลวง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต นาฏยศิลป์ไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฏฐนันท์ จันนินวงศ์ และผุสดี หลิมสกุล. (2557). “การออกแบบลีลานาฏศิลป์ไทยของอาจารย์สุวรรณี ชลานุเคราะห์ ศิลปินแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2533” วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มีนาคม – สิงหาคม 2557): 39.
ดิฐดา นุชบุษบา. (2558, 10 กุมภาพันธ์). ปราชญ์ชาวบ้าน. สัมภาษณ์.
ดุสิตธร งามยิ่ง. (2559). รำมอญ: ประเพณีทรงคุณค่าจังหวัดปทุมธานี. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 6(2): 57-66.
ทองคำ พันนัทธี. (2524). ปทุมธานีในอดีต. ม.ป.ท.
ธิตินัฐ พิณพาทย์. (2563, 7 สิงหาคม). ปราชญ์ชาวบ้าน. สัมภาษณ์.
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 34 ตอนที่ ๐ก วันที่ 29 เมษายน 2460.
พิศาล บุญผูก. (2551). “ประวัติมอญเมืองปทุมธานี ” อนุสรณ์งานพระราชทานเพลงศพ ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์สุเอ็ด คชเสนี ม.ว.ม., ป.ช. จำนวนเล่ม 5,000 เล่ม. กรุงเทพฯ: บริษัท เท็คโปรโมชั่น แอนด์ แอ็ดเวอร์ไทซซิ่ง จำกัด, 165-169.
รจนา สุนทรานนท์. (2548). การอนุรักษ์การแสดงพื้นบ้านจังหวัดปทุมธานี. คณะนาฏศิลป์และดุริยางค์ : สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.
โรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี. (2550). มอญในปทุมธานี ศูนย์การศึกษาวัฒนธรรมพื้นบ้านจังหวัดปทุมธานีเฉลิมพระเกียรติ. เทศบาลเมืองปทุมธานี.
วีรวัฒน์ วงศ์ศุปไทย. (2551). “ประวัติศาสตร์และถิ่นฐานบ้านเรือนชาวสามโคก” อนุสรณ์งานพระราชทานเพลงศพ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์สุเอ็ด คชเสนี ม.ว.ม., ป.ช. จำนวนเล่ม 5,000 เล่ม. กรุงเทพฯ: บริษัท เท็คโปรโมชั่น แอนด์ แอ็ดเวอร์ไทซซิ่ง จำกัด, 158.
สุภาวดี โพธิเวชกุล. (2559). พัฒนาการแม่บทในนาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
องค์ บรรจุน. (2551).“ประวัติศาสตร์และถิ่นฐานชาวมอญสมุทรสาคร” อนุสรณ์งานพระราชทานเพลงศพ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์สุเอ็ด คชเสนี ม.ว.ม., ป.ช. จำนวนเล่ม 5,000 เล่ม. กรุงเทพฯ: บริษัท เท็คโปรโมชั่นแอนด์ แอ็ดเวอร์ไทซซิ่ง จำกัด, 126.

Transted Thai References

Announcement of the Ministry of Interior on changing the name of the district Royal Gazette, Volume 34, Part Kor, dated 29 April 1917.
Aong Bunjun. (2008). "History and settlement of Mon people, Samut Sakhon" memorials for the funeral song Emeritus Professor Dr. Suedk Chasenee M. W.M., NACC, volume 5,000 volumes. Bangkok: Tech Promotion and Company. Advertising Co., Ltd., 126.
Chommanad Kitkhan. (2004). Dancer, royal character. Doctor of Arts thesis Thai Dance, Chulalongkorn University.
Diththada Nuchbusaba. (2015, February 10). Local Scholars. Interview.
Dusitthon Ngamying. (2016). Ram Mon: Valuable Traditions, Pathum Thani Province. Journal of Valaya Alongkorn Paritad. 6 (2): 57-66.
Fine Arts Department. (2001). Historical Development. Identity and wisdom Pathum Thani Province. Bangkok: Printing House, Krusapha Ladprao.
Kochaporn Tramot. (1998). Mon Ram (Pua Hapen): art quality of Mon. Thai case study brochure Bangkok: Thai Kadee Institute of Education.
Muang Pathum Thani Municipality School (2007). Mon in Pathum Thani. Center for the Study of Local Culture, Pathum Thani Province Pathum Thani Municipality.
Natthanan Channinwong and Putsadee Limsakul. (2014). “Thai Dance Design by Master Suwannee Chalanukroh, National Artist, 1990.” Journal of Fine and Applied Arts. Chulalongkorn University, Year 1 No. 1 (March - August 2014): 39.
Pisarn Boonthong (2008). "History of Mon Muang Pathum Thani" memorial ceremony for the funeral Emeritus Professor, Dr.Sued Kodchasenee, M.W.M., NACC, 5,000 volumes, Bangkok: Tech Promotion and Advertising Co., Ltd., 165-169.
Rachana Suntharanon. (2005). Conservation of folk performances, Pathum Thani Province. Faculty of Dance and Orchestra: Rajamangala Institute of Technology.
Supawadee Photivechkul. (2016). Master development in Thai dance. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University.
Thitinat Phinphat. (2020, August 7). Local Scholars. Interview.
Thongkam Pannatthee (1981). Pathum Thani in the past. P.O.
Weerawat Wongsupathai. (2008). “History and Housing of Sam Khok People” Memorial funeral song. Emeritus Professor Dr.Sued Kodchasenee, M.W.M., NACC, 5,000 volumes, Bangkok: Tech Promotion and Advertising Co., Ltd., 158.