การสร้างชุดฝึกการฟังและพูดภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจด้วยตนเอง โดยใช้กูเกิ้ล ทรานสเลท A Development of Self-Training Package on Listening and Speaking Business English Using Google Translate

Main Article Content

จักรพงษ์ ทองผาย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดฝึกการฟังและพูดภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจโดยใช้กูเกิ้ล
ทรานสเลท 2) สำรวจความคิดเห็นต่อกระบวนการสร้างชุดฝึก และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการ
แลกเปลี่ยนการใช้ชุดฝึก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์
และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ภาคการศึกษาที่ 2/2562 เลือกโดยสุ่มแบบเจาะจง
จำนวน 40 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถามวัดความคิดเห็นต่อกระบวนการสร้างชุดฝึก และ
แบบสอบถามวัดความพึงพอใจต่อการแลกเปลี่ยนการใช้ชุดฝึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาจากข้อคำถามปลายเปิด ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาเห็นด้วยกับประโยชน์
ด้านทักษะการพูดและการเรียนรู้ มากกว่าด้านระบบการทำงานของกูเกิ้ล ทรานสเลท และด้านประโยชน์
และข้อเสนอแนะ นักศึกษาจะรู้สึกท้าทายเมื่อต้องพยายามออกเสียงใหม่หลายครั้ง และมั่นใจในการออก
เสียงมากขึ้นหากกูเกิ้ล ทรานสเลทจับเสียงพูดได้ครบและถูกต้อง ซึ่งถือเป็นแรงจูงใจสำคัญในการเรียนรู้แบบ
นำตนเอง ทั้งนี้กูเกิ้ล ทรานสเลท เหมาะกับการฝึกพูดที่เน้นเฉพาะวลีหรือประโยค มากกว่าการสร้างบท
สนทนา ส่วนความพึงพอใจต่อการแลกเปลี่ยนการใช้ชุดฝึกอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน โดยชุดฝึกนี้สามารถใช้
ฝึกฟังและออกเสียงตามได้ เนื่องจากมีการออกเสียงที่ชัดเจนและถูกต้อง และบทสนทนาทางธุรกิจก็มี
คำศัพท์และวลีที่น่าสนใจ แต่อาจเหมาะสำหรับผู้ที่มีทักษะภาษาอังกฤษในระดับที่สื่อสารได้ เนื่องจากกูเกิ้ล
ทรานสเลทมีข้อจำกัดในการเว้นวรรคระหว่างบทสนทนาและมีเสียงพูดของคนเพียงคนเดียว อาจทำให้ผู้ฟัง
สับสนและจับใจความได้ยาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมล เกตุพันธ์ และ วราภรณ์ ศรีเพ็ชรพันธุ์. (2559). ทัศนคติ พฤติกรรมและปัญหาการใช้ “กูเกิ้ล ทรานสเลท” (Google Translate) ของนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, 8(1), 79-96.
ครูอาชีพ. (2563). แนะนำ 5 แอปฟรีฝึกภาษาอังกฤษด้วยตนเอง. สืบค้นจาก https://www.kruachieve.com/เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2563.
คัมภีรภาพ คงสำรวย, ไพโรจน์ บัวสุข, เสงี่ยม ศิริสวัสดิ์, ศักดิพงษ์ โสภาจร และ สมควร ข่าสะโปน. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน. วารสารแสงอีสาน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน, 15(1), 143-154.
เคน มหาชนะวงศ์ และ นิธิดา อดิภัทรนันท์. (2562). การใช้แอปพลิเคชันบนแท็บเล็ตเพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟังพูดภาษาอังกฤษและความรู้คำศัพท์ของนักเรียนชำติพันธุ์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16(1), 205-210.
ธีรวัฒน์ โคตรหานาม และ ไพสิฐ บริบูรณ์. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้คลิปภาพยนตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะในการฟังและพูดภาษาอังกฤษ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 8(23), 39-48.
ปวีณนุช พุ่มจิต และ อังค์วรา เหลืองนภา. (2562). การใช้แอปพลิเคชันในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษด้านการฟัง. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2. วันที่ 19 มกราคม 2562 ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. หน้า 552-561.
พรรณี โรจนเบญจกุล, ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง และ ชาญเดช เจริญวิริยะกุล. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา. วารสารสมาคมนักวิจัย, 23(2), 203-214.
ภูริวัจน์ วงค์เลย. (2554). กลวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของบุคลากรคนไทยในโรงเรียนนานาชาตินครพายัพ จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการค้นคว้าอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อริศรา สุขขวัญ. (2557). ทัศนคติและพฤติกรรมของนักศึกษาในการใช้โปรแกรม Google Translate. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
เอษณ ยามาลี, นันทา เดชธรรมฤทธิ์ และ อิสยาภรณ์ พิทยาภรณ์. (2561). การเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบพึ่งพาตนเองกับความเข้าใจที่แท้จริงสําหรับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย. รายงานการประชุมนําเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13 ปีการศึกษา 2561. วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2561. จัดโดยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต. หน้า 1828-1841.
About Google Translate. (2020). About Google Translate. สืบค้นจาก
https://translate.google.com/intl/en/about/. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2563
Bahri, H., and Mahadi, T. S. T. (2016). Google Translate as a Supplementary Tool for Learning Malay: A Case Study at Universiti Sains Malaysia. Advances in Language and Literary Studies, 7(3), 161-167.
Jaganathan, P. (2014). An analysis of Google Translate Use in Decoding Contextual Semanticity among EFL Learners. Asian Journal of Research in Social Sciences and Humanities, 4(9), 1-13.
Zulkifli, S. R. M. (2019). A Qualitative Study: The Use of Google Translate among English Education Department Students. Bachelor of Arts in English Language Education, Universitas Muhammadiyah Yogyakarta, Yogyakarta
Indonesia. Retrieved from https://pdfs.semanticscholar.org/.