มาตรการทางกฎหมายและข้อบกพร่องทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรแบบเชิงบูรณาการในพื้นที่นอกเขตชลประทาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงกฎหมาย มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาการบริหารจัดการน้ำ แนวทางปฏิบัติในชุมชนในการแก้ปัญหาจัดสรรน้ำโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายและข้อบกพร่องทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรแบบเชิงบูรณาการในพื้นที่นอกเขตชลประทาน แนวทางการแก้ปัญหาความซ้ำซ้อนกันในการบังคับใช้กฎหมายในการบริหารจัดการน้ำ แนวทางในการเสนอมาตรการระงับข้อพิพาทหรือข้อตกลงชุมชนในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่นอกเขตชลประทาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยมีกลุ่มประชากรที่ทำการศึกษาคือกลุ่มตัวอย่างประชากรในพื้นที่นอกเขตชลประทาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยการออกแบบสอบถาม จำนวนรวมกันไม่ต่ำกว่า 300 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงแบบกลุ่ม จำนวน 100 คน โดยทำการศึกษาระยะเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – มีนาคม 2563 โดยมีเครื่องมือการวิจัยได้แก่การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์ และการใช้แบบสอบถาม
การวิจัยมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยผ่านกรอบแนวคิดซึ่งใช้ทฤษฎีธรรมาภิบาลในการจัดการน้ำ การตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรนอกเขตชลประทานส่วนใหญ่มีการจัดสรรน้ำโดยตกลงกันเองระหว่างผู้ใช้น้ำ และใช้กฎเกณฑ์ตามกฎหมายในการระงับข้อพิพาทเรื่องน้ำน้อย (ร้อยละ2.3-9.5) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยบางส่วนว่าการแก้ปัญหาจัดสรรน้ำของชุมชนในพื้นที่นอกเขตชลประทานในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ไม่สามารถใช้มาตรการทางกฎหมายเพียงลำพังได้ ต้องอาศัยมาตรการอื่นๆ เช่น ข้อตกลงชุมชน หลักการธรรมาภิบาลในการจัดการน้ำ ในการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน โดยปลูกฝังให้ประชาชนมีวินัยการใช้น้ำควบคู่ไปด้วย
การศึกษาข้อบกพร่องทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาการบริหารจัดการน้ำ พบว่า การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการน้ำในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซ้ำซ้อนกันเองการมีหน่วยงานราชการที่บังคับใช้กฎหมายเกี่ยวข้องในการจัดการน้ำ แต่ไม่มีเจ้าภาพเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ การตรากฎหมายที่ไม่ได้มาจากกลุ่มผลประโยชน์หรือการมีส่วนร่วมจากประชาชนในพื้นที่
สำหรับแนวทางในการเสนอมาตรการระงับข้อพิพาทหรือข้อตกลงชุมชนในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่นอกเขตชลประทาน มีว่าการจัดทำธรรมนูญจัดการน้ำท้องถิ่นเป็นตัวเลือกหนึ่งที่เป็นการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทด้วยแนวทางสมานฉันท์โดยกลุ่มบุคคลในชุมชนเอง โดยหลักการ 3L ทั้งนี้ให้ดำเนินงานตามโมเดลการสร้างเครือข่ายจัดการระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับน้ำระดับชุมชน ซึ่งมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1)การจัดการข้อพิพาทในแหล่งน้ำชุมชน 2)การจัดการข้อพิพาทในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3)การระงับข้อพิพาทแบบสมานฉันท์ เมื่อเกิดข้อพิพาทที่มีผลกระทบกับชุมชนหลายชุมชนตั้งแต่ 2 ชุมชนขึ้นไป 4)การระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับน้ำในจังหวัด และ5)การระงับข้อพิพาทในเครือข่ายการจัดการน้ำ
แนวทางปรับปรุงข้อบกพร่องทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาการบริหารจัดการน้ำ เห็นควรให้มีการกำหนดรายละเอียดในพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำในเรื่องสิทธิการมีส่วนร่วมของชุมชนให้ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น กำหนดให้ชุมชนท้องถิ่นมีสิทธิจัดการน้ำในท้องถิ่น การจัดระบบเหมืองฝาย การบำรุงรักษาเหมืองฝายในท้องถิ่น นอกจากนี้ พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำยังไม่ได้กำหนดวิธีการคุ้มครององค์ความรู้ และการใช้เทคโนโลยีเรื่องน้ำของชุมชนอย่างไร จึงเห็นควรให้มีการกำหนดรายละเอียดให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถจดทะเบียนสิทธิบัตรในการสร้างเหมืองฝายด้วยวิธีการรูปแบบใหม่โดยเป็นหน้าที่ของหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องดำเนินการให้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Environnet. ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม . กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2560. http://www.environnet.in.th/archives/1480 (20 ก.ย. 2560 ที่เข้าถึง).
Global Water Partnership (GWP). “Institutional Roles (B).” The Enabling Environment. Global Water Partnership. 2003. http://www.gwp.org/en/ToolBox/TOOLS/Institutional-Roles/ (2018 Dec. 12 ที่เข้าถึง).
Håkan Tropp. What is Water Governance? The Water Governance Facility (WGF). 2017. http://watergovernance.org (2017 Sep. 22 ที่เข้าถึง).
Jeffrey Smith. “A précis of a communicative theory of the firm.” Business Ethics A European Review, 13 (2014): 317.
John Cohen and Norman Uphoff. “Participation's place in rural development: Seeking clarity through specificity.” World Development, 8 (1980): 213-235.
Mark W. Rosegrant,Ruth Suseela Meinzen-Dick Ariel Dinar. “Water Allocation Mechanisms: Principles and Examples.” World Bank Publications , 1997: 3.
OECD. OECD Principles on Water Governance. 2015. www.oecd.org/governance/oecd-principles-onwater-governance.htm. (20 Nov. 2018 ที่เข้าถึง).
P. and Hall, A.W. Rogers. “Effective Water Governance.” แก้ไขโดย Technical Committee. TEC Background Papers No. 7. Stockholm: Global Water Partnership, 2003.
Rajan G. and L. Zingales. The Governance of the New Enterprise in X. Vives (ed.) Corporate Governance: Theoretical and Empirical Perspectives. New York: Cambridge University Press, 2000.
SIWI. “Issue sheet: Water governance.” UNDP-SIWI Water Governance Facility. Stockholm: SIWI, 2016. 1-2.
Stein, R Iza.A. Rule, Reforming water governance. แก้ไขโดย International Union for Conservation of Nature and Natural Resources. Gland: The International Union for Conservation of Nature (IUCN), 2009.
Wolfgang H Reinicke. “The Other World Wide Web: Global Public Policy Networks.” Foreign Policy, 117 (1999): 44-57.
กรมทรัพยากรธรณี. แผนที่เสี่ยงภัยดินถล่มระดับชุมชน ตําบลบ้านแม อําเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2556, 4-2.
กฤษฎา บุญชัย. “แนวคิดชุมชนท้องถิ่นพัฒนาและการก่อเกิด LDI.” ldi.or.th. แก้ไขโดย สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา. 2016. http://www.ldi.or.th/2016/ (25 ก.ย. 2561 ที่เข้าถึง).
—. ประชาสังคม:พื้นที่สาธารณะที่ประชาชนจัดการกันเอง. กรุงเทพฯ, 2542.
กองบรรณาธิการ. “ชาวอำเภอสันป่าตองพอใจ ทหารสั่งให้หยุดขุดลอกลำน้ำขาน.” เดลินิวส์, 23 พ.ย. 2559.
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาลด้านการบริการจัดหางาน. กรุงเทพฯ: กองแผนงานและสารสนเทศ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน, 2550.
ข่าวไทยพีบีเอส. คลี่ร่างพ.ร.บ.น้ำ 3 กลุ่มใครได้ประโยชน์ "จ่ายเพิ่ม" ค่าใช้น้ำ. 2560. https://news.thaipbs.or.th/content/265834 (5 ก.ย. 2560 ที่เข้าถึง).
โครงการชลประทานเชียงใหม่. เขตพื้นที่รับผิดชอบ. เชียงใหม่: สำนักงานชลประทานที่ 1 กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , 2561.
—. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ของราชการ. 2561. http://www.irricm.net/ (5 มี.ค. 2561 ที่เข้าถึง).
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวงอุดมธารา. ตารางกำหนดรอบเวรการส่งน้ำช่วงฤดูแล้ง ปี 2561/2562. ตารางกำหนดรอบเวรการส่งน้ำ, เชียงใหม่: กรมชลประทาน, 2562.
จุฑารัตน์ แก้วกัญญา. สรุปสาระสำคัญกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2556, 8.
จุฬีวรรณ เติมผล. การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย. แก้ไขโดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2561.
ชนาวัชร อรุณรัตน์. “การประเมินศักยภาพองค์กรลุ่มน้ำ.” วารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม), 1 (มีนาคม 2558): 38.
ชลธิชา ต๊ะทองด้วง. ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำโดยรัฐในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2557, ง.
ชูโชค อายุพงศ์. แผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ในจังหวัดเชียงใหม่. โครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจังหวัดเชียงใหม่, หน่วยวิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติ , คณะวิศวกรรมศาสตร์, เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2553.
เชาวลิต สิมสวย. รูปแบบสถาบันเพื่อการจัดการน้ำชุมชน กรณีศึกษาลุ่มน้ำแม่ขานจังหวัดเชียงใหม่. ดุษฎีนิพนธ์สาขาวิชาวางแผนภาคและเมือง, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.
ตัวแทนองค์กรผู้ใช้น้ำตำบลทุ่งสะโตก, สัมภาษณ์โดย คณะผู้วิจัย. การสัมภาษณ์และการทำประชุมกลุ่มย่อยตัวแทนองค์กรผู้ใช้น้ำ เชียงใหม่: ห้องประชุมเทศบาลตำบลทุ่งสะโตก, (29 ม.ค. 2563).
ถวิลวดี บุรีกุล. พลวัตรการมีส่วนร่วมของประชาชน: จากอดีตจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. 1. กรุงเทพฯ: บริษัท เอ.พี.กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด, 2552.
ทศพล สมพงษ์. ประชาธิปไตยชุมชนจากแนวคิดสู่การจัดการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง, 2555.
เทศบาลตำบลทุ่งสะโตก. ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลทุ่งสะโตก. 2561. http://www.thungsatok.go.th/ (3 เม.ย. 2561 ที่เข้าถึง).
เทศบาลตำบลยุหว่า. แผนอัตรากำลัง 3 ปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558-2560. แผนอัตรากำลัง , เชียงใหม่: เทศบาลตำบลยุหว่า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่, 2558, 16.
ประเสริฐ ณนคร. มังรายศาสตร์. กรุงเทพฯ: พิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงโหตรกิตยานุพันธ์, 2514.
ปัญหาการมอบอำนาจ “เจ้าท่า” ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ที่ มท 0804.5/ว.3792 (หนังสือกระทรวงมหาดไทย, 12 พฤศจิกายน 2547).
พิทักษ์ ศศิสุวรรณ. “การศึกษาบทบัญญัติมังรายศาสตร์เพื่อสังเคราะห์เจตนารมณ์กฎหมาย.” วารสารนิติ รัฐกิจ และสังคมศาสตร์ 2, 2 (2561): 34.
พิมพ์กานต์ เลอเบล. การจัดการอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลาในกระชังในแม่น้ำปิงตอนบนเพื่อให้เกิดความมั่นคงในสังคมและลดความเสี่ยงทางระบบนิเวศอย่างยั่งยืน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต , เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2551, 110.
มงคล จินดาธรรม. การมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทาน ในเขตอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร, บัณฑิตวิทยาลัย, เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2552.
มิ่งสรรพ์ และคณะ ขาวสอาด. แนวนโยบายการจัดการน้ำสำหรับประเทศไทย เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 2544.
มูลนิธิชัยพัฒนา. ทฤษฎีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามแนวทางการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมล้น. 2559. http://www.chaipat.or.th/concept-and-theory-development/ theory-of-flooding-problems.html. (20 ธ.ค. 2561 ที่เข้าถึง).
—. หลักการบำบัดน้ำเสียโดยการทำให้เจือจาง. 2559. http://www.chaipat.or.th/concept-and-theory-development/bile-alengm-waste.html (20 ธ.ค. 2561 ที่เข้าถึง).
รติตา แก้วจุลกาญจน์. สิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรน้ำ. โครงการสังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อจัดทำข้อเสนอแนวทางและมาตรการรับรองสิทธิชุมชนที่เป็นการปกป้องคุ้มครองสุขภาวะของประชาชน, กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพและมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, 2554, 5-6.
รายงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. สิทธิชุมชน กรณีกล่าวอ้างว่าพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2560 ส่งผลกระทบต่อชุมชนชายฝั่งและชุมชนริมน้ำ. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, 2560.
รุจิภรณ์ เตจ๊ะ. ชาวนาที่เชียงใหม่ หันมาปลูกหอมแดง พืชที่ใช้น้ำน้อย แทนการปลูกข้าวในช่วงฤดูแล้ง. เชียงใหม่: สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 เชียงใหม่, 2562.
ธวัชชัย ติงสัญชลี และคณะ. การพัฒนาแผนหลักการจัดการภัยธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับน้ำ: น้ำท่วม น้ำแล้ง และแผ่นดินถล่ม. โครงการวิจัย, กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2546.
วาสนา สุขกุล, น้ำเพ็ชร วินิจฉัยกุล. “การจัดการความขัดแย้ง : กรณีพิพาทการสร้างอ่างเก็บน้ำแม่ขาน จังหวัดเชียงใหม่.” วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล 1, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2558): 73.
ศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการต้นน้ำ จังหวัดเชียงใหม่. “ลำน้ำแม่ขาน.” dnpgis.cm. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่). 2548. http://www.fca16.com/dnpgis.cm/ (15 ก.พ. 2561 ที่เข้าถึง).
สลิลทิพย์ เชียงทองและอินทิรา วิทยสมบรูณ์. ทำธรรมนูญ: ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง. นนทบุรี: สำนักงานปฎิรูปและสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การชุมชน), 2556.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. ทฤษฎีใหม่. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. 2561. http://km.rdpb.go.th/Knowledge/View/54. (20 ธ.ค. 2561 ที่เข้าถึง).
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. กฎหมายน้ำกับการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงโครงสร้าง. เอกสารประกอบการประชุม, กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, 2547, 17-18.
สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ. แผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำ. กรุงเทพ: สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ, 2558-2569.
สำนักงานประมงจังหวัดลำพูน. ข้อมูลสภาพการทำการประมงในพื้นที่จังหวัดลำพูนและแผนการปฏิบัติงานด้านการประมง ประจำปี 2561. แผนการปฏิบัติงานประจำปี, กรมประมง , ลำพูน: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , 2561, 11.
สำนักตรวจสอบพิเศษภาค 4. รายงานการตรวจสอบการดำเนินงาน โครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน (บ่อจิ๋ว) ของสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3 จังหวัดนครราชสีมา. 2560. http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx? NewsID=9600000022653 (5 มี.ค. 2560 ที่เข้าถึง).
สุรศักดิ์ ไชยธนกิจ. “ทฤษฎีธรรมาภิบาลบริษัท: ตรีมิติวิเคราะห์.” วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, ธันวาคม 2548: 14-15.
สุวิทย์ ธีรศาศวัต. ประวัติศาสตร์เทคโนโลยีการเกษตร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม, 2548.
อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. “ชุมชนท้องถิ่นกับการมีส่วนร่วมจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน.” วารสารนักบริหาร 35, 1 (มิถุนายน 2558): 104.