การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวงเครื่องสายไทยด้วยโน้ตจัตุรงค์

Main Article Content

นิธิฤทธิ์ กั้นเขตต์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มุ่งนำเสนอการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวงเครื่องสายไทยด้วยโน้ตจัตุรงค์
และนำเสนอผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเครื่องสายไทยด้วยโน้ตจัตุรงค์โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบ
ผสมผสาน (Mixed method) ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ ประชากรในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 โรงเรียนวัดกำแพง สำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2563 จำนวน 74 คน
กลุ่มตัวอย่างในการทดลองครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 2 ห้องเรียน ได้มาด้วยวิธีการสุ่ม
อย่างง่าย (Simple random sampling) ได้แก่ ห้องที่เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 25 คน และห้องที่เป็นกลุ่ม
ควบคุม จำนวน 25 คน โดยดำเนินการเรียนการสอนสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง จำนวน 13 สัปดาห์ รวมระยะเวลา
จำนวน 13 ชั่วโมง
ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวงเครื่องสายไทยด้วยโน้ตจัตุรงค์ เป็นการ
พัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีบรรเลงทำนองในวงเครื่องสายไทย ได้แก่ ซอด้วง ซออู้จะเข้และ
ขลุ่ยเพียงออ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
วิชาดนตรี โดยยึดวิธีการฝึกปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย เพื่อนำมาประยุกต์เป็นรูปแบบการบันทึก
โน้ตจำนวน 4 สีได้แก่ดำ น้ำเงิน แดง และเขียว และใช้การจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการ
สอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์(Davies' Instructional Model for Psychomotor Domain) ทำให้รูปแบบ
การเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์
3) เนื้อหา 4) ระยะเวลา 5) กิจกรรมการเรียนการสอน 6) สื่อการเรียนการสอน 7) การวัดและประเมินผล
และ 8)แผนการจัดการเรียนรู้เมื่อนำรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน
ทำการพิจารณาความเหมาะสม พบว่ามีค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.90, S.D.=0.30)
เมื่อนำรูปแบบการเรียนการสอนไปทดลองใช้ นำร่องกับนักเรียนซึ่งไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง พบว่ามีประสิทธิภาพ
E1/E2 = 81.77/80.75 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน
กลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่ม
ควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรงุเทพฯ : โรงพิมพ์
ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
คันธารัตน์ ธรรมธร. (2557). การเปรียบเทียบทักษะการตีกลองยาวของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน
วัดปริวาส ระหว่างการใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์กับการสอนปกติ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
จิรดา แก้วขาว และนวลฉวี ประเสริฐสุข. (2558, กันยายน-ธันวาคม). การใช้สีกำหนดพยัญชนะเพื่อพัฒนา
ความสามารถในการอ่านคำมาตราตัวสะกด แม่กน ที่ไม่ตรงตามมาตราของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 8(3): 58.
ทิศนา แขมมณี. (2551). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ :แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.
________. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพโรจน์ เนียมนาค. (2554). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองสำหรับ
นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย. (2544). เกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยและเกณฑ์การ
ประเมิน. กรุงเทพฯ :สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย.

Bureau of Higher Education Standards Office of the Permanent Secretary for University Affairs.
(2011). Thai music standards and criteria rate. Bankok : Office of the Permanent Secretary for University Affairs.
Jirada Kaewkhaow and Nuanchavee Phasertsuk. (2015, September-December). Using Color in
Consonants to Develop Reading ability on words with Non Corresponding final cocsonants in Mae Kon of Children with Learning Disabilty. Veridian E-Journal, Slipakorn University. 8(3): 2015.
Khantharat Thammatorn. (2014). A Comparison of the Drum Beating Skills of the Students in
Grade 5 Watpariwas School between the Davies’Practical Skills Teaching Method and the Regualar Teaching Method. Curriculum and Instruction Bansomdejchaopraya Rajabhat University.
Pairoj Niamnak. (2011).The Development of the Instructional Model to Enhance Self –
Discipline Ethic for Rajabhat University Students. Thesis Ph.D. in Curriculum and Instruction Naresuan University.
Tisana Khemmani. (2008). Teaching Model : Wide Choice. Bankok : Active Print Company
Limited.
________ (2012). Teaching Science : Knowledge base for effective learning process. Bankok :
Press of Chulalongkorn University
The Ministry of Education Thailand. (2008). The basic Education Core Curriculum B.E.2551
(A.D.2008). Bankok :The Agricultural Cooperative Federation of Thailand.